คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4422/2536

 แหล่งที่มา: สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 
การที่จะถือเอาข้อเท็จจริงในคำพิพากษาคดีส่วนอาญามาพิพากษาส่วนแพ่งได้ จะต้องเป็นคดีที่มีมูลกรณีเดียวกันและคู่ความเดียวกันซึ่งในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ คู่ความในคดีส่วนแพ่งก็ต้องเป็นผู้เสียหายอยู่ในคดีนั้นด้วย เมื่อคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์มีข้อหาว่า อง และจำเลยที่ 1 กระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติ จราจรทางบกฯ ซึ่งรัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย ส่วนข้อหาขับรถด้วยความประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส โจทก์ไม่ใช่ผู้รับบาดเจ็บโจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายหรือคู่ความในคดีอาญาและแม้ศาลในคดีส่วนอาญาจะพิพากษาถึงที่สุดลงโทษ อ. และยกฟ้องจำเลยที่ 1แต่ก็ยกฟ้องเพราะพนักงานอัยการโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1ขับรถด้วยความประมาท และมิได้วินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงข้อหานี้ข้อเท็จจริงในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาจึงไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัย ศาลต้องฟังพยานหลักฐานโจทก์จำเลยที่นำสืบใหม่ในคดีนี้ และฟังว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายประมาทด้วยได้
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46

ผู้พิพากษา

ทองเลื่อน พูลพิพัฒน์
นิเวศน์ คำผอง
สุนพ กีรติยุติ

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android