คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 159/2553

 แหล่งที่มา: สำนักวิชาการ
 เผยแพร่เมื่อ: 2 เม.ย. 2555 15:39:40

คำพิพากษาย่อสั้น

 
ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บมีบาดแผล คือ 1) บาดแผลฉีกขาดที่บริเวณด้านบนศีรษะข้างซ้ายค่อนมาทางกึ่งกลางศีรษะยาว 7 เซนติเมตร ลึกถึงกะโหลกศีรษะ 2) บาดแผลที่ศีรษะด้านขวาเหนือใบหูยาว 7 เซนติเมตร ลึกถึงกะโหลดศีรษะ 3) บาดแผลที่ต้นคอด้านหลังขวายาว 5 เซนติเมตร 4) บาดแผลที่มือซ้ายตรงฐานนิ้วก้อยยาว 2 เซนติเมตร และบริเวณปลายนิ้วนางยาว 4 เซนติเมตร และได้ความจากนายแพทย์ผู้ตรวจรักษาผู้เสียหายว่าบาดแผลหลักหรือบาดแผลสำคัญคือบาดแผลดังกล่าว ซึ่งแสดงว่าถูกฟันหลายครั้งแต่ไม่สามารถทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้ทันที แต่ถ้าไม่รักษาอาจจะเกิดการติดเชื้อทำให้ถึงแก่ความตายได้ แม้ทางการแพทย์จะถือว่าไม่ร้ายแรง แต่การที่จำเลยกับพวกร่วมกันใช้มีดเฉพาะที่ยึดได้จากจำเลยยาว 15 นิ้ว กว้าง 2.5 นิ้ว เป็นอาวุธฟันที่ศีรษะผู้เสียหายอันเป็นอวัยวะสำคัญโดยแรงถึงกับกะโหลกศีรษะแตกร้าว ทั้งเป็นมีดที่มีขนาดใหญ่อาจใช้ทำร้ายคนให้ถึงแก่ชีวิตได้ เมื่อพิเคราะห์ถึงตำแหน่งและสภาพของบาดแผลดังกล่าวที่ต้องใช้เวลาในการรักษาบาดแผลนานประมาณ 6 สัปดาห์ ถ้าไม่มีอาการแทรกซ้อน ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาก็อาจติดเชื้อเป็นอันตรายถึงแก่ความตายได้ ย่อมแสดงว่าจำเลยกับพวกฟันผู้เสียหายโดยแรงบริเวณศีรษะอันเป็นอวัยวะสำคัญ จำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าการทำร้ายผู้เสียหายโดยใช้มีดขนาดใหญ่เป็นอาวุธฟันลงไปที่ศีรษะโดยแรงเช่นนี้ผู้เสียหายได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้น จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288
  • ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80
  • ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59

ผู้พิพากษา

นันทชัย เพียรสนอง
อร่าม เสนามนตรี
อร่าม แย้มสอาด

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android