คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2530

 แหล่งที่มา: กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 

ข้อบังคับของจำเลยกำหนดว่า ในกรณีที่จำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าชดเชยให้แก่ผู้ปฏิบัติงานผู้ใดตามกฎหมายแรงงานก็ให้จ่ายเงินค่าชดเชยจากกองทุนบำเหน็จ และผู้ปฏิบัติงานไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับนี้อีก เว้นแต่เงินบำเหน็จที่คำนวณตามข้อบังคับนี้มากกว่าเงินค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน ก็ให้จ่ายเงินบำเหน็จส่วนที่มากกว่านั้นให้แก่ผู้ปฏิบัติงานผู้นั้น ข้อบังคับดังกล่าวไม่ขัดต่อกฎหมายและใช้บังคับได้แม้จะเป็นการจำกัดสิทธิของผู้ปฏิบัติงานอยู่บ้าง แต่ความในมาตรา 28 แห่ง พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2520 ก็หาได้บัญญัติห้ามจำเลยที่จะกำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวไม่
แม้โจทก์เป็นพนักงานของจำเลยมาก่อนวันที่ประกาศใช้ข้อบังคับดังกล่าว แต่เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ก่อนวันใช้ข้อบังคับดังกล่าวจำเลยได้เคยมีข้อบังคับว่าด้วยกองทุนบำเหน็จไว้อันพึงนำมาวินิจฉัยว่าโจทก์เคยมีสิทธิอย่างไร และข้อบังคับของจำเลยฉบับนี้ตัดสิทธิของโจทก์ประการใด ดังนั้นเมื่อโจทก์ถูกเลิกจ้างหลังจากวันประกาศใช้ข้อบังคับสิทธิของโจทก์จะได้รับเงินบำเหน็จหรือไม่เพียงใด ก็ย่อมเป็นไปตามข้อบังคับของจำเลยฉบับที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเลิกจ้าง.(ที่มา-ส่งเสริม)
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 12
  • พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 20
  • พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ.2520 มาตรา 28
  • ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2515 มาตรา 28

ผู้พิพากษา

มาโนช เพียรสนอง
จุนท์ จันทรวงศ์
สุพจน์ นาถะพินธุ

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android