คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3967/2529

 แหล่งที่มา: กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 

โจทก์ฟ้องข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 ในเช็คแต่ละฉบับเป็นความผิดแต่ละกระทงเรียงกันไป การพิจารณาว่ากระทงใดต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่ ต้องพิจารณาถึงจำนวนเงินที่ระบุในเช็คแต่ละฉบับว่าหากศาลลงโทษปรับสองเท่าของจำนวนเงินที่ระบุในเช็คเพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแล้วเกินกว่าหกหมื่นบาทหรือไม่ ถ้าไม่เกินกว่าหกหมื่นบาท เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง กรณีก็ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 ทวิ ที่แก้ไขแล้ว จะนำจำนวนเงินตามที่ระบุในเช็คฉบับอื่นแม้จะลงวันสั่งจ่ายวันเดียวกันมารวมคำนวณด้วยหาได้ไม่
ความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหานี้ คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ที่แก้ไขแล้ว
โจทก์ได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับเช็คที่นำมาฟ้องเป็นจำนวนหลายสิบฉบับ และได้บรรยายฟ้องไว้ชัดเจนว่า เช็คแต่ละฉบับนั้นเป็นของธนาคารใดพร้อมกับระบุสาขาของธนาคาร อันถือว่าเป็นสถานที่ที่เกิดการกระทำความผิดเนื่องจากธนาคารแห่งนั้นปฏิเสธการจ่ายเงินไว้ด้วย จึงหาจำเป็นที่จะต้องระบุแขวงและเขตอีกไม่การที่โจทก์นำเอาชื่อแขวงและเขตที่เกิดการกระทำความผิดไปกล่าวรวมไว้ในตอนท้ายเพื่อบอกสถานที่เกิดเหตุย่อมเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
  • ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
  • ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ
  • พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3

ผู้พิพากษา

สุรัตน์ ศรีอนุพันธุ์
ยนต์ พิรวินิจ
สมประสงค์ พานิชอัตรา

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android