คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4072/2530

 แหล่งที่มา: กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 

การที่โจทก์ยินยอมมาทำงานในวันเสาร์ซึ่งเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ และมีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานนั้น โจทก์ย่อมมีหน้าที่ปฏิบัติงานตามคำสั่งของจำเลยและต้องอยู่ในบังคับของระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำำานของจำเลยด้วย
ระเบียบข้อบังคับของจำเลยระบุว่า 'บุคคลที่ถูกลงโทษโดยตักเตือนด้วยวาจาหรือตักเตือนด้วยหนังสือ หรือทำหนังสือทัณฑ์บนได้แก่ผู้ที่กระทำผิดในสถานเบา ผู้ที่ได้รับการลงโทษดังกล่าวรวม 3 ครั้ง บริษัทฯ จะถือเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับและจะพิจารณาลงโทษในสถานหนักตามที่เห็นสมควร' ดังนี้จำเลยจะอาศัยความข้อนี้เลิกจ้างโจทก์ได้ก็ต่อเมื่อโจทก์ได้รับการลงโทษด้วยการตักเตือนมาก่อนแล้วรวม 3 ครั้ง
โจทก์ละทิ้งหน้าที่มาแล้ว 2 ครั้ง และถูกตักเตือนเป็นหนังสือแล้วทั้งสองครั้ง ต่อมาโจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นครั้งที่ 3ซึ่งเป็นกรณีที่จำเลยมีสิทธิลงโทษโจทก์ด้วยการตักเตือนอีกได้ เช่นนี้ แม้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) จะให้สิทธิแก่นายจ้างที่จะเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยก็ตาม แต่เมื่อระเบียบข้อบังคับดังกล่าวเป็นคุณแก่โจทก์ซึ่งจำเลยจะต้องถือปฏิบัติตาม จำเลยจึงไม่มีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชย แต่จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583.
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583
  • พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 10
  • พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 12
  • ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มาตรา 12

ผู้พิพากษา

มาโนช เพียรสนอง
จุนท์ จันทรวงศ์
สุพจน์ นาถะพินธุ

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android