คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2305/2542

 แหล่งที่มา: สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 
แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะตกลงให้จำเลยที่ 3 รับเหมาช่วงงานก่อสร้างบางส่วนแต่ตามข้อเท็จจริงมีพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เชิดจำเลยที่ 3 ผู้รับเหมาช่วงออกแสดงเป็นตัวแทนหรือรู้แล้วยอมให้จำเลยที่ 3 เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในการติดต่อซื้อวัสดุอุปกรณ์การก่อสร้างจากโจทก์ เมื่อโจทก์ เชื่อโดยสุจริตว่าจำเลยที่ 3 ได้สั่งซื้ออุปกรณ์การก่อสร้าง จากโจทก์แทนและในนามจำเลยที่ 1 มิใช่กระทำเป็นส่วนตัว ของจำเลยที่ 3 แต่อย่างใด จำเลยที่ 1 ตัวการจึงต้องรับผิด ในผลแห่งการกระทำของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นตัวแทน จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระราคาค่าสินค้าที่ค้างชำระให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และเป็น หุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิดจึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ด้วย แต่จำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทน หรือตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 1 ในการติดต่อซื้อวัสดุอุปกรณ์ การก่อสร้างจากโจทก์ ขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระ เงินค่าสินค้าที่ค้างชำระแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยโดยมิได้ กล่าวอ้างเลยว่าจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ดำเนินกิจการก่อสร้าง ร่วมกัน กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยที่ 3 รับผิดต่อโจทก์เพราะเหตุที่จำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ดำเนินกิจการก่อสร้างร่วมกันตามที่โจทก์ยกขึ้นอ้างในฎีกา ฎีกาของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นฎีกาในเรื่องที่เกินไปกว่า หรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องของโจทก์ เป็นข้อที่มิได้ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249

ผู้พิพากษา

จำรูญ แสนภักดี
ณรงค์ศักดิ์ วิจิตรสาระวงศ์
เรืองฤทธิ์ ศรีวรรธนะ

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android