คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601/2529

 แหล่งที่มา: เนติบัณฑิตยสภา
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 
อ.และจ.เป็นโจทก์ฟ้องว.ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าว.และอ.ต่างขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้รถของทั้งสองฝ่ายชนกันอ. มีส่วนกระทำผิดอาญา ไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยไม่มีอำนาจฟ้อง ให้ยกฟ้องเฉพาะคดีที่ อ.เป็นโจทก์ และลงโทษว.ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา390ข้อเท็จจริงว่าว.และ อ.ต่างขับรถประมาทจึงต้องผูกพันว.อ.และ จ.ซึ่งเป็นคู่ความในคดีอาญา การที่ศาลวินิจฉัยในคดีแพ่งเรื่องละเมิดว่า ว. ประมาทฝ่ายเดียว จึงเป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 จำเลยที่ 1 ขับรถมาเร็วเกินกว่า 100 กม.ต่อชั่วโมงแม้จะขับอยู่ในถนนทางตรง ในเส้นทางเดินรถของตน แต่ก็ขับ ด้วยความเร็วสูงกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด และไม่ยอมลดความเร็วลง เมื่อมาถึงที่เกิดเหตุที่มีทางคนเดินเท้าข้ามถนน แม้จะหักหลบ ไปทางซ้ายมือแล้วก็ไม่พ้น จึงชนกับรถของจำเลยที่ 3 ที่ขับเลี้ยวขวาข้ามถนนเข้าสู่ทางแยกเข้าสโมสรซึ่งอยู่ในทางเดินของจำเลยที่ 1 โดยเร็ว ไม่หยุดรอให้รถจำเลยที่ 1 ในทางตรงซึ่ง อยู่ด้านซ้ายมือผ่านไปก่อน กลับขับรถเลี้ยวขวาตัดหน้า ในระยะห่างกันเกินกว่า 15 ม. เล็กน้อย ดังนี้ ความประมาท ของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ที่ก่อให้เกิดขึ้นจึงมิได้ยิ่งหย่อนมาก น้อยกว่ากัน จำเลยที่ 1 และที่ 3 มีความรับผิดในผลแห่งการละเมิด เท่าเทียมกัน จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งเรียก ค่าเสียหายจากจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิด ชดใช้ค่าเสียหายให้จำเลยที่ 3 ตามสัญญาประกันภัยมีเงื่อนไขระบุว่า เมื่อรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้เกิดความเสียหายผู้รับประกันภัยมีสิทธิซ่อมเปลี่ยนหรือใช้รถยนต์สภาพเดียวกันนั้น ผู้รับประกันภัยจะต้องเลือกซ่อมโดยช่างซ่อมที่มีฝีมือด้วย การที่ผู้เอาประกันภัยไม่ยอมส่งมอบรถยนต์ให้ซ่อมเพราะยังไม่พอใจว่าช่างซ่อมของผู้รับประกันภัยจะซ่อมรถได้ดีหรือไม่และไม่ปรากฏว่าผู้เอาประกันภัยจะไม่ส่งมอบรถยนต์ให้ผู้รับประกันภัยโดยเด็ดขาด จึงถือไม่ได้ว่าผู้เอาประกันภัยผิดเงื่อนไขในสัญญา การที่ผู้เอาประกันภัยฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ที่ อ้างว่าทำละเมิดนั้น เป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายของผู้เอาประกันภัย จะถือว่าผู้เอาประกันภัยสละสิทธิที่จะให้ผู้รับประกันภัยปฏิบัติตามสัญญาหาได้ไม่
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 442
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 861
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 877
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177

ผู้พิพากษา

สมศักดิ์ เกิดลาภผล
อำนวย อินทุภูติ
ดำริ ศุภพิโรจน์

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android