คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3738/2536

 แหล่งที่มา: สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 
การเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมหมายถึงการที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่มีสาเหตุหรือแม้จะมีสาเหตุบ้างแต่ก็ไม่ใช่สาเหตุที่จำเป็นหรือสมควรจะต้องถึงกับเลิกจ้างลูกจ้าง จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามเนื่องจากบริษัทลูกค้าจำเลยแจ้งความดำเนินคดีแก่โจทก์ทั้งสามข้อหาร่วมกันลักทรัพย์ชั้นจับกุมโจทก์ทั้งสามให้การรับสารภาพย่อมทำให้จำเลยระแวงสงสัยและไม่ไว้วางใจโจทก์ทั้งสามจำเลยย่อมมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามได้และถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุสมควรและเป็นธรรม แม้ต่อมาพนักงานอัยการจะสั่งไม่ฟ้องโจทก์ที่ 1 และศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ก็ไม่มีผลทำให้การเลิกจ้างของจำเลยกลับเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมไม่ เมื่อในคดีที่โจทก์ทั้งสามถูกกล่าวหาว่าร่วมกันลักทรัพย์พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องโจทก์ที่ 1 และศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 2 และที่ 3 จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสามฝ่าฝืนข้อบังคับของจำเลยกรณีไม่ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 47 ที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามจำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยรวมทั้งเงินสมทบเงินสะสม เมื่อไม่จ่ายต้องถือว่าผิดนัดต้องชำระดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีของเงินแต่ละจำนวนนับแต่วันเลิกจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
  • พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49
  • ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มาตรา 49

ผู้พิพากษา

ประพัฒน์ อุชุภาพ
ปรีชา ธนานันท์
ณรงค์ ตันติเตมิท

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android