คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2503

 แหล่งที่มา: กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 
คดีเกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ใช้บังคับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ พ.ศ. 2499 ส่วนพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2503 ยังมิได้ออกใช้บังคับ เมื่อผู้ว่าคดีฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงธนบุรี ศาลแขวง ธนบุรีไต่สวนมูลฟ้องแล้วสั่งว่า คดีมีมูลฐานวิ่งราวทรัพย์ (ซึ่งอยู่ในอำนาจศาลอาญา) และให้ประทับฟ้องไว้ อัยการได้รับสำนวนจากศาลแขวงธนบุรี และพิจารณาแล้วสั่งไม่ฟ้องฐานวิ่งราว คงสั่งฟ้องฐานลักทรัพย์ (ซึ่งเป็นคดีอยู่ในอำนาจศาลแขวง) เมื่อพนักงานอัยการฟ้องข้อหาฐานลักทรัพย์ต่อศาลอาญา ศาลอาญาจำต้องรับคดีนี้ไว้พิจารณา (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 15/2503)
ความในพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 14 (2) ที่ให้อยู่ในดุลยพินิจของศาลจังหวัดที่จะไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีที่เกิดขึ้นในศาลแขวงและอยู่ในอำนาจของศาลแขวงนั้น ใช้ได้แต่ในระบบที่ศาลแขวงมิได้เป็นศาลไต่สวนความผิดอาญาทั่วไปเท่านั้น
นอกจากราษฎรฟ้องกันเอง แล้ว ย่อมเป็นหน้าที่ของผู้ว่าคดีตามความในมาตรา 5 แห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ พ.ศ. 2499 เท่านั้น ที่จะเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีในศาลแขวงตามพระราชบัญญัตินี้ได้ อัยการหาอาจเป็นโจทก์ในศาลแขวงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวง ฯ พ.ศ. 2499 นี้ได้ไม่ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2503)
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • มาตรา 8
  • พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14
  • พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39
  • พระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 11

ผู้พิพากษา

ประมูล สุวรรณศร
บริรักษ์จรรยาวัตร
โพยม เลขยานนท์

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android