คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933/2500

 แหล่งที่มา: กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 
จำเลยที่ 1 และที่ 3 มีความผิดฐานเป็นตัวการฉ้อโกงเรื่องแกล้งแสดงตนว่าเป็นคนใช้วิทยาคมได้ ตามก.ม.ลักษณะอาญา ม.304,306(2) และจำเลยที่ 2 มีความผิดฐานเป็นผู้ช่วยเหลืออุปการะในการกระทำผิดดังกล่าวผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญา ม.304,306,65 อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะกระทำความผิด บัดนี้ประมวลกฎหมายอาญาได้เปลี่ยนแปลงความผิดฐานฉ้อโกงไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดโดยการใช้อุบายพิเศษเรื่องแกล้งแสดงตนว่าเป็นคนใช้วิทยาคมได้นั้น เป็นอันยกเลิกไปเสียแล้ว และที่โจทก์กล่าวฟ้องในเรื่องนี้ก็ไม่ใช่เป็นกรณีพิเศษตามประมวลกฎหมายอาญา ม.342 ฉะนั้นการกระทำผิดของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงธรรมดาตามประมวลกฎหมายอาญา ม.341 ตรงกับ ก.ม.ลักษณะอาญา ม.304 เท่านั้น อันมีอัตราโทษจำคุกเพียงไม่เกิน 3 ปี เบากว่าอัตราโทษตาม ก.ม.ลักษณะอาญา ม.306(2) มาก แม้เรื่องนี้เฉพาะโจทก์ร่วมฝ่ายเดียวฎีกา ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ให้หนักขึ้น แต่ความผิดฐานฉ้อโกงเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้ทำผิดดังกล่าวแล้ว ซึ่งประมวลกฎหมายอาญาม.3 บัญญัติให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้ทำผิด และเป็นเหตุในลักษณะคดีตามประมวลกฏหมายอาญาม.89 จึงมีผลเกี่ยวพันไปถึงตัวจำเลยที่ 1 และที่ 3 ที่มิได้ฎีกาขึ้นมานั้นด้วย จำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นตัวการจึงผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.341,83 ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิดรายนี้ ผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.341 ประกอบด้วย ม.82.
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 304
  • กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 306
  • กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 65
  • ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341
  • ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 342
  • ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83
  • ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 89
  • ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3

ผู้พิพากษา

ดุลยทรรศน์ปฏิภาณ
ประมูล สุวรรณศร
วิเทศจรรยารักษ์

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android