คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1895/2529

 แหล่งที่มา: สำนักงาน ส่งเสริมงานตุลาการ
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 
การที่จำเลยยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางเกินกำหนดสิบห้าวันโดยมิได้ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์นั้นเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบแม้ศาลแรงงานกลางจะสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยไว้พิจารณาก็หาทำให้อุทธรณ์ของจำเลยที่ไม่ชอบแล้วนั้นกลับเป็นอุทธรณ์ที่ชอบไม่ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย บทบัญญัติเกี่ยวกับการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามมาตรา49แห่งพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522และบทบัญญัติในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583เรื่องค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านั้นกฎหมายทั้งสามฉบับนี้มีวัตถุประสงค์และมีที่ใช้ต่างกันจะเทียบเคียงแปลปรับเข้าด้วยกันมิได้การที่จะวินิจฉัยว่าการใดจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามบทบัญญัติมาตรา49แห่งพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522หรือมิใช่นั้นจะต้องพิเคราะห์ว่ามีสาเหตุเพียงพอที่จะเลิกจ้างได้หรือไม่เป็นประการสำคัญนายจ้างเชื่อว่าลูกจ้างมีส่วนพัวพันกับการพยายามฆ่าย. ผู้จัดการทั่วไปของบริษัทนายจ้างทำให้นายจ้างไม่ไว้วางใจลูกจ้างจึงสั่งเลิกจ้างไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม.
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583
  • พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49
  • พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54
  • ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2515 มาตรา 54

ผู้พิพากษา

จุนท์ จันทรวงศ์
สมบูรณ์ บุญภินนท์
เพียร สุมิระ

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android