คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1906/2556

 แหล่งที่มา: กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
 เผยแพร่เมื่อ: 4 มี.ค. 2557 11:30:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 
การบอกกล่าวล่วงหน้าเพื่อเลิกสัญญาจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสาม ที่ใช้ในขณะเกิดเหตุนั้น นายจ้างสามารถที่จะเลิกจ้างลูกจ้างโดยทำเป็นหนังสือหรือบอกเลิกจ้างลูกจ้างด้วยวาจาก็ได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ว่าหากนายจ้างประสงค์จะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธการจ่ายค่าชดเชยนายจ้างจะต้องแจ้งเหตุนั้นให้ลูกจ้างทราบขณะเลิกจ้าง ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างด้วยวาจานายจ้างจะต้องระบุหรือแจ้งเหตุผลนั้นให้ลูกจ้างทราบขณะบอกเลิกสัญญาจ้างด้วยวาจาด้วย ในขณะที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างแก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างด้วยวาจาโจทก์ก็ทราบดีอยู่แล้วว่าเกิดจากการที่โจทก์กับพวกได้จัดตั้งบริษัททำกิจการค้าแข่งกับจำเลย ถือว่าเป็นกรณีที่จำเลยได้ระบุเหตุตามมาตรา 119 (2) (4) แก่โจทก์ในขณะบอกเลิกสัญญาจ้างด้วยวาจาแล้ว จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 17 วรรคสาม
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119
  • พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 (เดิม)
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583

ผู้พิพากษา

ทวีป ตันสวัสดิ์
ชัยวัฒน์ เวียงธีรวัฒน์
วิรุฬห์ แสงเทียน

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android