คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1222/2553

 แหล่งที่มา: สำนักวิชาการ
 เผยแพร่เมื่อ: 5 ต.ค. 2554 15:46:35

คำพิพากษาย่อสั้น

 
การที่จำเลยนำซากรถยนต์ไปแปรรูปและประกอบขึ้นใหม่เป็นรถยนต์ที่มีสภาพลักษณะการใช้งานแตกต่างจากสภาพเดิม เปลี่ยนรุ่น และเปลี่ยนลักษณะของตัวรถจึงอยู่ในความหมายของการผลิตในโรงอุตสาหกรรมตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 ซึ่งหากการผลิตสำเร็จและนำรถยนต์ออกจากโรงอุตสาหกรรมจำเลยมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการแสดงชนิดและปริมาณของสินค้าเมื่อได้ความว่าขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดรถยนต์ของกลาง รถยนต์มีสภาพโครงสร้างภายนอกสมบูรณ์สามารถขับแล่นไปได้ และมีการนำรถยนต์ออกมาบนถนนหลวง จอดปะปนกับรถยนต์อื่นๆ อันเป็นสภาพการใช้งานรถยนต์ตามปกติ จึงถือว่าการผลิตสำเร็จและมีการนำรถยนต์ออกจากโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว ความรับผิดและภาระในการเสียภาษีสรรพสามิตจึงเกิดขึ้น เมื่อจำเลยมิได้ชำระภาษีสรรพสามิต การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิด
ที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับจำเลย โดยกำหนดว่าหากจำเลยไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 แต่มิได้ระบุให้กักขังเกินกำหนด 1 ปี หรือไม่มีกำหนดเท่าใด เช่นนี้ จะกักขังแทนค่าปรับเกินกำหนด 1 ปีไม่ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 10
  • พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 4
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 225
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195
  • พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 20

ผู้พิพากษา

นพพร โพธิรังสิยากร
ชินวิทย์ จินดา แต้มแก้ว
สุทธิโชค เทพไตรรัตน์

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android