คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10588/2553

 แหล่งที่มา: กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
 เผยแพร่เมื่อ: 7 ต.ค. 2554 09:23:32

คำพิพากษาย่อสั้น

 
โจทก์ร่วมเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรม เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นมรดกของโจทก์ร่วม จำเลยบุกรุกที่ดินพิพาทภายหลังเจ้ามรดกตาย โจทก์ร่วมย่อมเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์ดำเนินคดีได้ แม้โจทก์ร่วมจะจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินพิพาทภายหลังเกิดเหตุคดีนี้แล้วก็ตาม โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ร่วมร้องทุกข์ว่าจำเลยบุกรุกที่ดินพิพาทภายใน 3 เดือนนับแต่โจทก์ร่วมรู้เรื่องการกระทำความผิดของจำเลยแล้ว การที่โจทก์ร่วมแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเลขที่โฉนดที่ดินพิพาทผิดพลาดเป็นเพียงรายละเอียด แม้ต่อมาจะมีการให้การเพิ่มเติมและส่งเอกสารเกี่ยวกับที่ดินพิพาทในภายหลังโดยมีการแก้ไขเลขที่โฉนดให้ถูกต้องหลังจากพ้นกำหนดเวลา 3 เดือนนับแต่โจทก์ร่วมรู้ถึงการกระทำความผิด ก็ถือว่าการร้องทุกข์สมบูรณ์ตั้งแต่วันที่โจทก์ร่วมแจ้งความร้องทุกข์ครั้งแรกแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2
  • ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96

ผู้พิพากษา

สุริยง ลิ้มสถิรานันท์
สนอง เล่าศรีวรกต
ประทีป ดุลพินิจธรรมา

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android