คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5375/2552

 แหล่งที่มา: สำนักวิชาการ
 เผยแพร่เมื่อ: 7 ส.ค. 2555 10:06:19

คำพิพากษาย่อสั้น

 
เมื่อพินัยกรรมแบบเขียนเองที่ผู้ตายทำไว้เป็นพินัยกรรมที่มีผลสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมาย และผู้ตายซึ่งเป็นเจ้ามรดกทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่ ล. ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่งในขณะนั้นเพียงคนเดียวแล้ว ก็ต้องถือว่าบรรดาทายาทโดยธรรมอื่นๆ ผู้ที่มิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1608 วรรคสอง ผู้คัดค้านซึ่งแม้จะเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่งจึงมิใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 วรรคแรก ได้ แม้ผู้คัดค้านและทายาทโดยธรรมอื่นๆ จะทำบันทึกข้อตกลงไว้กับ ล. ผู้รับทรัพย์มรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 วรรคแรก ได้ แม้ผู้คัดค้านและทายาทโดยธรรมอื่นๆ จะทำบันทึกข้อตกลงไว้กับ ล. ผู้รับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมแต่เพียงผู้เดียวก็ตาม บันทึกข้อตกลงดังกล่าวก็เป็นเพียงข้อตกลงระหว่างผู้คัดค้านและทายาทโดยธรรมอื่นๆ กับ ล. ผู้รับทรัพย์มรดกแต่เพียงผู้เดียวและผู้ร้องซึ่งถูกทำขึ้นหลังจากที่ผู้ตายซึ่งเป็นเจ้ามรดกได้ถึงแก่ความตายไปแล้ว จึงเป็นข้อตกลงที่ไม่เกี่ยวข้องกับการมีสิทธิรับมรดกแต่ประการใดทั้งสิ้นและไม่ก่อให้ผู้คัดค้านกลับกลายเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ศาลถอนผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 วรรคแรก หรือขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 ได้
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1608

ผู้พิพากษา

ม.ล.ฤทธิเทพ เทวกุล
กีรติ กาญจนรินทร์
ศิริชัย วัฒนโยธิน

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android