คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2539

 แหล่งที่มา: สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 
แม้จำเลยที่2เป็นผู้ขอให้ทางราชการออกเลขที่บ้านให้โดยจำเลยที่2ลงชื่อเป็นเจ้าบ้านในหลักฐานทะเบียนราษฎร์ก็มิได้หมายความว่าจำเลยที่2ผู้ขอออกเลขที่บ้านและมีชื่อเป็นเจ้าบ้านจะมีกรรมสิทธิ์ในบ้านหลังดังกล่าวเพราะหลักฐานดังกล่าวมิใช่หลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่เป็นเพียงหลักฐานของทางราชการที่ต้องการทราบว่าในหมู่บ้านนั้นมีบ้านอยู่กี่หลังและมีคนอาศัยอยู่ในบ้านที่ขอออกเลขที่บ้านกี่คนเพื่อประโยชน์ในทางทะเบียนราษฎร์เท่านั้นเมื่อรูปคดีฟังได้ว่าบ้านพิพาทเป็นของเจ้ามรดกจึงเป็นทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่บรรดาทายาททุกคน เจ้ามรดกถึงแก่ความตายในปี2528ทายาทของเจ้ามรดกตกลงกันว่าทายาทจะยังไม่แบ่งมรดกกันจนกว่าจะมีการเผาศพเจ้ามรดกเสียก่อนและได้มีการเผาศพเจ้ามรดกหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายแล้วประมาณ2ปีนอกจากนี้ยังปรากฎหลักฐานว่ามรดกของเจ้ามรดกยังอยู่ในระหว่างการแบ่งปันของบรรดาทายาทเมื่อมรดกยังแบ่งกันไม่เสร็จแม้ทายาทคนใดคนหนึ่งหรือหลายคนจะเป็นผู้ครอบครองมรดกอยู่ก็ต้องถือว่าทายาทคนนั้นหรือเหล่านั้นครอบครองมรดกแทนบรรดาทายาทอื่นด้วยทุกคนแม้จะล่วงเลยเวลา1ปีนับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายทายาทอื่นก็ชอบที่จะฟ้องขอแบ่งมรดกได้ข้อเท็จจริงในคดีนี้ถือได้ว่าจำเลยทั้งสามครอบครองที่ดินและบ้านพิพาททั้งสองหลังอันเป็นมรดกแทนผู้ตายซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกด้วยคนหนึ่งโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754วรรคหนึ่ง
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754

ผู้พิพากษา

สุรินทร์ นาควิเชียร
นาม ยิ้มแย้ม
จรัญ หัตถกรรม

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android