คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1324/2538

 แหล่งที่มา: กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 
ใน หนังสือ สัญญาจะซื้อขาย กำหนด ว่า โจทก์ วาง มัดจำ ไว้ เป็น เงิน 500,000 บาท แต่ ใน วัน ทำ สัญญา นั้น มี การ วาง มัดจำ เพียง 150,000 บาท แต่ ใน วัน ทำ สัญญา นั้น มี การ วาง มัดจำ เพียง 150,000 บาท ไม่ครบ ตาม สัญญา เนื่องจาก เช็ค ที่ โจทก์ เป็น ค่า มัดจำ อีก 350,000 บาท ถูก ธนาคาร ปฏิเสธ การ จ่ายเงิน แม้ การ วาง มัดจำ แต่เพียง อย่างเดียว จะ สามารถ ฟ้องร้อง บังคับ คดี กัน ได้ แล้ว ก็ ตาม แต่เมื่อ คู่สัญญา มี เอกสาร ที่ เป็น หนังสือ จึง ต้อง ผูกพัน กัน ตาม ข้อความ ที่ ทำ เป็น หนังสือ นั้น เมื่อ โจทก์ จำเลย ตกลง กัน ว่า ต้อง วาง มัดจำ เป็น เงิน 500,000 บาท ก็ จะ ต้อง ผูกพัน กัน ตาม นั้น เมื่อ โจทก์ วาง มัดจำ เพียง 150,000 บาท ไม่ครบ ตาม สัญญา จึง ฟังได้ ว่า โจทก์ เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา ก่อน ที่ โจทก์ และ ฝ่าย จำเลย จะ ทำ สัญญาจะซื้อขาย โจทก์ และ ฝ่าย จำเลย ได้ เคย ทำ สัญญาซื้อขาย กัน มา 2 ฉบับ แล้ว การ ที่ ได้ ทำ สัญญา เกี่ยวกับ การ ซื้อ ขาย ที่ดิน แปลง เดียว กัน เป็น ฉบับ ใหม่ ขึ้น อีก ก็ สืบเนื่อง มาจาก โจทก์ ผู้จะซื้อ ไม่ชำระ เงิน ตาม ที่ กำหนด ไว้ ใน สัญญา ฉบับ ก่อน ฉะนั้น การ ทำ สัญญาจะซื้อขาย โดย ฝ่าย โจทก์ สั่งจ่าย เช็ค เป็น การ ชำระ เงินมัดจำ ตาม สัญญา ส่วน หนึ่ง นั้น ย่อม เห็น ได้ ใน เบื้องต้น แล้ว ว่า คู่สัญญา มี เจตนา จะ ให้การ ชำระ เงินมัดจำ ตาม จำนวนเงิน และ ตาม วันที่ ลง ใน เช็ค เป็น สาระสำคัญ ของ สัญญา ฉบับ ใหม่ นั้น ทั้ง ยัง มี บันทึก ไว้ ที่ ด้าน บน ด้วย ข้อความ ว่า ต่อเนื่อง จาก สัญญาจะซื้อขาย ฉบับ เดิม แสดง ให้ เห็น วัตถุประสงค์ ของ คู่สัญญา ว่า เจตนา จะ ให้ ถือเอา เรื่อง การ ใช้ เงินมัดจำ ตามเช็ค ดังกล่าว เป็น สาระสำคัญ ของ สัญญา และ แม้ ว่า สัญญาจะซื้อขาย ฉบับ เดิม จะ ไม่ ปรากฎ ข้อความ ว่า ให้ ผู้ขาย บอกเลิก สัญญา ได้ ก็ ตาม แต่ โดย สภาพ หรือ โดย เจตนา ที่ คู่สัญญา ได้ แสดง ไว้ ดังกล่าว ย่อม เห็น ถึง วัตถุประสงค์ ของ คู่สัญญา ว่า หาก โจทก์ ผู้จะซื้อ ผิดสัญญา ไม่ชำระ เงินมัดจำ หรือ ผิดสัญญา ข้อ หนึ่ง ข้อ ใด ฝ่าย จำเลย ผู้จะขาย ย่อม มีสิทธิ บอกเลิก และ ริบ มัดจำ ได้ ทันที เมื่อ ปรากฎ ว่า เช็ค ซึ่ง โจทก์ สั่งจ่าย ชำระ เงินมัดจำ ส่วน หนึ่ง ใช้ เงิน ไม่ได้ ซึ่ง ถือว่า โจทก์ ผิดสัญญา ฝ่าย จำเลย ย่อม บอกเลิก สัญญา และ ริบ เงินมัดจำ เสีย ได้ ตาม ข้อ สัญญา ดังกล่าว ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386 โดย จำเลย ไม่ต้อง บอกกล่าว ให้ โจทก์ ชำระหนี้ ภายใน ระยะเวลา ที่ กำหนด ตาม มาตรา 387 แต่อย่างใด และ เมื่อ การ เลิกสัญญา เป็น เพราะ ความผิด ของ ฝ่าย โจทก์ เอง โจทก์ ย่อม ไม่มี สิทธิ เรียก ค่าเสียหาย จาก ฝ่าย จำเลย
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 368
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369

ผู้พิพากษา

สละ เทศรำพรรณ
บุญศรี กอบบุญ
โกษา ปิยสิรานนท์

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android