คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2851/2530

 แหล่งที่มา: กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 

ทนายโจทก์มีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความและได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยศาลพิพากษาตามยอมแล้ว ดังนี้แม้ทนายจำเลยจะบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ แก่ทนายโจทก์ไม่ตรงต่อความจริงแต่ทนายโจทก์ย่อมมีโอกาสใช้ดุลพินิจไตร่ตรองแล้วว่าสมควรจะตกลงทำสัญญากับจำเลยหรือไม่ ทั้งข้ออ้างที่ว่าทนายโจทก์ขาดสติสัมปชัญญะเพราะเหตุผลเรื่องสุขภาพ จึงตกลงประนีประนอมยอมความกับทนายจำเลยนั้นก็เป็นความบกพร่องของทนายโจทก์เอง โจทก์จึงจะอ้างว่าได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความไปโดยถูกฝ่ายจำเลยฉ้อฉลหาได้ไม่.
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138

ผู้พิพากษา

สุพจน์ นาถะพินธุ
จุนท์ จันทรวงศ์
สีนวล คงลาภ

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android