คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2530

 แหล่งที่มา: สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 
เมื่อปรากฏว่าลายมือชื่อจำเลยที่ 5 ในสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 5 ปฏิเสธว่ามิใช่ลายมือชื่อของตน กับในการ์ดตัวอย่างลายมือชื่อและคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันที่จำเลยที่ 5 รับว่าเป็นลายมือชื่อของตนจริงคล้ายคลึงกันและสีหมึกก็เป็นสีเดียวกัน ประกอบกับจำเลยที่ 2 ผู้ทำสัญญาขายลดเช็คกับจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันก็เป็นสามีภริยากัน จึงน่าเชื่อว่าลายมือชื่อจำเลยที่ 5 ในสัญญาค้ำประกัน เป็นลายมือชื่อที่แท้จริงของจำเลยที่ 5 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 5 แล้วเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ขอเข้าว่าคดี หรือมีคำขอให้จำหน่ายคดี ศาลย่อมดำเนินกระบวนพิจารณาสำหรับจำเลยที่ 5 ต่อไป โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 2 กระทำการแทนจำเลยที่ 1ในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2เป็นตัวแทนเชิด ศาลก็ย่อมวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 รับผิดในการกระทำของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนเชิด ได้ เพราะความรับผิดของตัวแทนกับตัวแทนเชิด มีลักษณะอย่างเดียวกัน ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น การที่จำเลยที่ 5 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในสัญญาขายลดเช็คในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 และประทับตราห้างจำเลยที่ 1 ด้วยทั้ง ๆ ที่ทราบดีว่าจำเลยที่ 2 เป็นเพียงหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 5หุ้นส่วนผู้จัดการได้เชิด จำเลยที่ 2 หรือยอมให้จำเลยที่ 2เชิด ตนเองเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามสัญญาขายลดเช็คต่อโจทก์.
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 126
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183
  • พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 25

ผู้พิพากษา

อำนวย อินทุภูติ
ดำริ ศุภพิโรจน์
สมศักดิ์ จูสวัสดิ์

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android