คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2743/2531

 แหล่งที่มา: เนติบัณฑิตยสภา
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 
กรณีที่มีการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมนั้น ศาลแรงงานมีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานโดยมีสิทธิได้รับค่าจ้างต่อไปในอัตราที่เคยได้รับอยู่ในขณะที่จะมีการเลิกจ้างประการหนึ่ง แต่ถ้าเห็นว่าลูกจ้าง นายจ้างไม่อาจที่จะร่วมงานกันต่อไปได้ด้วยดี ก็มีอำนาจสั่งไม่ให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานได้ แต่ต้องให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายชดใช้ให้ลูกจ้างจำนวนหนึ่ง การที่ลูกจ้างจะได้รับค่าเสียหายจึงมีเพียงกรณีที่ศาลแรงงานมิได้มีคำสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานเท่านั้นในกรณีที่ศาลแรงงานสั่งให้รับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน กฎหมายหาได้กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าเสียหายหรือค่าจ้างนับแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันที่นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานไว้ด้วยไม่เนื่องจากลูกจ้างได้รับประโยชน์จากการกลับเข้าทำงานแล้ว
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49

ผู้พิพากษา

มาโนช เพียรสนอง
สุพจน์ นาถะพินธุ
วิศิษฏ์ ลิมานนท์

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android