คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2531

 แหล่งที่มา: สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 

การที่จะพิจารณาว่านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเป็นธรรมหรือไม่หากสาเหตุแห่งการเลิกจ้างเกิดแต่ด้านลูกจ้าง พึงพิจารณาว่าลูกจ้างได้กระทำหรืองดเว้นการกระทำอันใดหรือไม่ และการนั้น ๆเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นการเพียงพอแก่การเลิกจ้างหรือไม่เป็นสำคัญ ส่วนการแต่งตั้งกรรมการสอบสวนลูกจ้างจะชอบหรือไม่ หรือคณะกรรมการสอบสวนมิได้ปฏิบัติตามข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอย่างใด หาเป็นข้อสำคัญที่จะทำให้การเลิกจ้างเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมไม่
โจทก์ร้องเรียนกล่าวหาจำเลยที่ 2 ด้วยเรื่องอันเป็นเท็จ และเป็นการหมิ่นประมาทจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา พฤติการณ์ของโจทก์ถือได้ว่าประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามข้อบังคับของจำเลยที่1 ข้อ 60(6) การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุนี้ จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ศาลแรงงานกลางไม่ได้วินิจฉัยว่าการกระทำของโจทก์เป็นการกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชาหรือไม่ อุทธรณ์ของโจทก์ในข้อที่ว่าการกระทำของโจทก์มิใช่เป็นการกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชา จึงเป็นอุทธรณ์ที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาของศาลแรงงานกลาง ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย.(ที่มา-ส่งเสริม)
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225
  • พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
  • พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49

ผู้พิพากษา

จำนง นิยมวิภาต
จุนท์ จันทรวงศ์
ครีภูมิ สุวรรณโรจน์

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android