คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1338/2531

 แหล่งที่มา: เนติบัณฑิตยสภา
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 
การพิจารณาคำร้องเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรมของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯมาตรา 41,121,124 ต้องปรับด้วยมาตรา 43 มิใช่มาตรา 28ซึ่งเป็นการพิจารณาข้อพิพาทของผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานพระราชบัญญัติ ญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 43 เป็นบทบัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารสำหรับการปฏิบัติตามหน้าที่เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงสำหรับการวินิจฉัยชี้ขาดตาม มาตรา41 แต่มาตราทั้งสองก็หาได้บัญญัติว่า ข้อเท็จจริงที่ได้ มาตามมาตรา 43 ถือเป็นยุติไม่และเมื่อผู้กล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวหานำคดีไปสู่ศาลตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 8 วรรคท้ายแล้วคู่ความย่อมนำสืบข้อเท็จจริงได้ทุกอย่างทุกประการเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่สมบูรณ์และให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดีตามความต้องการ ของพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 44,45 การสืบพยานในคดีแรงงานมีข้อแตกต่างจากคดีแพ่งสามัญโดยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 45 วรรคสองให้ศาลแรงงานเป็นผู้ซักถามพยาน ตัวความหรือทนายความจะซักถามพยานได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน การที่โจทก์นำสืบข้อเท็จจริงทั้งหลายในคดีได้ ย่อมถือได้ว่าศาลแรงงานกลางอนุญาตแล้ว แม้ว่าโจทก์จะมิได้นำสืบข้อเท็จจริงต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ โจทก์ก็นำสืบข้อเท็จจริงในชั้นพิจารณาต่อศาลได้ และจำเลยมีหน้าที่นำสืบหักล้าง
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89
  • พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 28
  • พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 41
  • พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 43
  • พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 8
  • พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 44
  • พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 45

ผู้พิพากษา

จุนท์ จันทรวงศ์
มาโนช เพียรสนอง
สีนวล คงลาภ

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android