คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1128/2531

 แหล่งที่มา: เนติบัณฑิตยสภา
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 
พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 5,30,32 บัญญัติ ความผิดและบทลงโทษฐานทำสุรากับฐานมีสุราไว้ในครอบครองไว้คนละมาตราจึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ข้อหาทำสุราและข้อหามีสุราไว้ในครอบครองในคราวเดียวกัน แม้จำเลยจะทำทั้งสุรากลั่นและสุราแช่และมีทั้งสุรากลั่นและ สุราแช่ ในแต่ละข้อหาก็เป็นความผิดกรรมเดียวกัน ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็ยกขึ้นแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ โจทก์บรรยายฟ้องว่ารถยนต์ของกลางเป็นทรัพย์สินที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิด เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง จึงต้องฟังว่ารถยนต์ของกลางเป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด ซึ่งศาลมีอำนาจริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33การที่ ศาลอุทธรณ์ฟังว่ารถยนต์ของกลางไม่อาจเป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้ หรือมีไว้ใช้ในการกระทำความผิดตามลักษณะของความผิดที่โจทก์ ฟ้องได้นั้น เป็นการฟังข้อเท็จจริงที่ผิดไปจากคำรับสารภาพของจำเลย เป็นการไม่ชอบ
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33
  • ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176
  • พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ.2493 มาตรา 5
  • พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ.2493 มาตรา 17
  • พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ.2493 มาตรา 30
  • พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ.2493 มาตรา 31
  • พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ.2493 มาตรา 32
  • พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ.2493 มาตรา 45

ผู้พิพากษา

อรรถวิทย์ วรรธนวินิจ
ธิรพันธุ์ รัศมิทัต
สมบูรณ์ ฤกษ์สำราญ

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android