คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2531

 แหล่งที่มา: เนติบัณฑิตยสภา
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 หากโจทก์เห็นว่าการงดสืบพยานไม่ถูกต้อง โจทก์จะต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้เมื่อโต้แย้งแล้วจึงจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายในหนึ่งเดือนนับแต่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ตามที่บัญญัติไว้ ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) เมื่อนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งดังกล่าวจนถึงวันนัดฟังคำพิพากษานานประมาณ 45 วันเวลาที่โจทก์จะโต้แย้งได้ ก็หาโต้แย้งไม่ และที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์โจทก์ไว้ซึ่งมีประเด็นที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์รวมอยู่ด้วยก็ไม่ทำให้ประเด็นที่ไม่มีสิทธิอุทธรณ์กลับเป็นสิทธิอุทธรณ์ขึ้นได้ โจทก์จึงฎีกาปัญหาข้อนี้ไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 242(1) และมาตรา 247 โจทก์เคยเบิกความเกี่ยวกับเรื่องทางพิพาทในคดีอื่น ยอมรับว่าถ้าจะใช้ทางพิพาทจะต้องขออนุญาตจาก ส.เจ้าของที่ดินเดิมก่อนเป็นการยอมรับในสิทธิของทางพิพาทว่าเป็นของ ส.และในวันชี้สองสถานโจทก์ยอมรับว่าโจทก์ได้เบิกความไว้จริงโจทก์ ก็มิได้กล่าวอ้างว่าคำเบิกความของตนไม่ถูกต้อง ทั้งมิได้คัดค้านการที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานเพื่อขอนำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น คำเบิกความของโจทก์ในคดีดังกล่าวจึงนำมารับฟังในคดี นี้ได้ว่า โจทก์ต้องขออนุญาตใช้ทางพิพาทจากบุคคลอื่นเมื่อทางพิพาท เปลี่ยนกรรมสิทธิ์มาเป็นของจำเลย จำเลยย่อมได้รับประโยชน์นั้นด้วยแม้โจทก์จะใช้ทางพิพาทนานเท่าใด ก็อ้างสิทธิเป็นทางภาระจำยอมหาได้ไม่
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 242
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247

ผู้พิพากษา

สง่า ศิลปประสิทธิ์
ชูเชิด รักตะบุตร์
ธิรพันธุ์ รัศมิทัต

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android