คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1788/2531

 แหล่งที่มา: กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 
ฉลากอาหารกระป๋องที่จำเลยผลิตไม่ถูกต้องเฉพาะเลขทะเบียนซึ่งระบุที่ฉลากโดยเลขทะเบียนที่ระบุที่ฉลากอาหาร 2 รายการแรกเป็นของผู้อื่นส่วนเลขทะเบียนที่ระบุที่ฉลากอาหาร 3 รายการหลังเป็นของจำเลย แต่เป็นเลขทะเบียนอาหารชนิดอื่นที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนตำหรับอาหารแล้ว ดังนี้จำเลยหามีเจตนาลวงผู้ซื้อให้เข้าใจผิดในเรื่อง คุณภาพ ปริมาณ ประโยชน์ หรือลักษณะพิเศษอย่างอื่น หรือในเรื่องสถานที่และประเทศที่ผลิตไม่ เพราะไม่อาจทำให้ผู้ซื้อเข้าใจผิดในเรื่องดังกล่าวได้อาหารที่มีฉลากดังกล่าวจึงมิใช่เพื่อลวง หรือพยายามลวงผู้ซื้อให้เข้าใจผิดในเรื่องดังกล่าว จำเลยไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 25 (2), 59
ความผิดฐานผลิตอาหารควบคุมเฉพาะโดยไม่ได้รับอนุญาตกับผลิตอาหารควบคุมเฉพาะไม่ตรงตามที่ได้ขึ้นทะเบียนตำหรับอาหารไว้ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง, 64 กับมาตรา 34, 66 เป็นการกระทำผิดกรรมเดียว ทั้งการที่จะลงโทษตามบทมาตราดังกล่าวได้ โจทก์จะต้องบรรยายฟ้องว่าเป็นอาหารควบคุมเฉพาะซึ่งต้องมีฉลากและฉลากนั้นต้องมีเลขทะเบียนตำหรับอาหาร
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
  • ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192
  • พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 25
  • พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 27
  • พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 31
  • พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 34
  • พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 49
  • พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 64
  • พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 66

ผู้พิพากษา

ประวิทย์ ขัมภรัตน์
วิฑูรย์ ตั้งตรงจิตต์
ไมตรี กลั่นนุรักษ์

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android