คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3601/2530

 แหล่งที่มา: กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
 เผยแพร่เมื่อ: 13 พ.ย. 2551 16:40:47

คำพิพากษาย่อสั้น

 
ศาลชั้นต้นนัดชี้สองสถานแล้วจึงพบเห็นว่า การที่โจทก์ฟ้องรวมกันมาทั้ง ๆ ที่แต่ละคนสามารถฟ้องได้โดยลำพัง น่าจะเป็นการหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมศาลจึงกำหนดเวลาให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้อง เป็นคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 (2) มิใช่คำสั่งตามมาตรา 18 วรรคสอง เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงเป็นการทิ้งฟ้องศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียได้
กรณีทิ้งฟ้องไม่เข้าเหตุใดเหตุหนึ่งตามมาตรา 151 ที่ศาลจะมีอำนาจสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาล
เมื่อทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันได้ แต่โจทก์ฟ้องรวมกันมาเป็นคดีเดียว ดังนี้ จะต้องคำนวณค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้อง มิใช่เสียค่าขึ้นศาลรวมกัน โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 5 ว่าจำเลยยักย้ายทรัพย์มรดกคิดเป็นเงิน 76,000,000 บาท ข้อ 6 ราคาทรัพย์มรดกตามบัญชีท้ายฟ้องอันดับ 8-15 รวมเป็นเงิน 52,180,000 บาท โจทก์ได้ตามข้อนี้คนละ 4,348,333.33 บาท รวมทั้งข้อ 5 ข้อ 6 โจทก์ 5 คนได้รวมกัน 97,741,666.66 บาทเห็นได้ชัดว่า โจทก์เรียกร้องมาคนละ 19,548,333.33 บาท ซึ่งโจทก์แต่ละคนต้องเสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 (ก) คนละ 200,000 บาท.
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 150
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18

ผู้พิพากษา

ไมตรี กลั่นนุรักษ์
วิฑูรย์ ตั้งตรงจิตต์
เฉลิม การปลื้มจิตต์

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android