คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2391/2530

 แหล่งที่มา: กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดให้ศาลแรงงานมีอำนาจที่จะคุ้มครองป้องกันมิให้นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม โดยถ้าปรากฏต่อศาลแรงงานว่าการเลิกจ้างลูกจ้างรายใดไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ศาลแรงงานมีอำนาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างที่เคยได้รับในขณะที่ถูกเลิกจ้างแต่ ถ้าศาลแรงงานเห็นว่า ลูกจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ศาลแรงงานก็มีอำนาจกำหนดให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายแก่ลูกจ้างแทน การรับกลับเข้าทำงานและตามบทบัญญัติดังกล่าวก็ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ หรือขั้นตอนในการที่ลูกจ้างจะฟ้องเรียกค่าเสียหายไว้ การที่ศาลสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปเป็นอำนาจของศาลแรงงานที่จะวินิจฉัยสั่งตามบทบัญญัติดังกล่าวในเมื่อปรากฏว่าลูกจ้างอาจทำงานร่วมกับนายจ้างต่อไปได้ การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเพียงอย่างเดียวโดยไม่ได้ขอให้รับโจทก์กลับเข้าทำงานต่อไปด้วยนั้น หาใช่เป็นเหตุที่จะแสดงว่าโจทก์พอใจในการที่ถูกเลิกจ้างแล้วและจะถือว่าเป็นกรณีที่ไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหาได้ไม่ การเลิกจ้างจะเป็นธรรมหรือไม่ต้องพิจารณาถึงเหตุเลิกจ้างว่ามีเหตุอันสมควรเพียงพอหรือไม่.
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142.
  • พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49
  • พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52

ผู้พิพากษา

สีนวล คงลาภ
จุนท์ จันทรวงศ์
มาโนช เพียรสนอง

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android