คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3935/2529

 แหล่งที่มา: กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 
การขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญานั้น มีบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 30 และ 31 เฉพาะกรณีที่ผู้เสียหายขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการหรือพนักงานอัยการขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้เสียหายในคดีที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวเท่านั้น นอกเหนือจากสองกรณีนี้แล้ว การขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมไม่อาจจะมีได้ ดังนั้น เมื่อผู้เสียหายคนหนึ่งเป็นโจทก์ฟ้องคดีแล้ว ผู้เสียหายอื่นจะร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมจึงไม่อาจกระทำได้ และจะอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(2) ซึ่งบัญญัติให้สิทธิบุคคลภายนอกในกรณีร้องสอดขอเข้าเป็นโจทก์หรือจำเลยร่วม ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 มาอนุโลมบังคับใช้ในกรณีนี้ก็ไม่ได้เช่นเดียวกัน เพราะอำนาจฟ้องดังกล่าวถือว่ากฎหมายได้กำหนดไว้เป็นกรณีพิเศษโดยเฉพาะในมาตรา 30 และ 31 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้ว ดังนั้น ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์เดิมได้
การให้วินิจฉัยปัญหาโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกานั้น เป็นอำนาจและหน้าที่ของประธานศาลฎีกาโดยเฉพาะ คู่ความจะร้องขอขึ้นมาหาได้ไม่.
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 30
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 31
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208 ทวิ
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 225
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57

ผู้พิพากษา

สวัสดิ์ รอดเจริญ
ดุสิต วราโห
คำนึง อุไรรัตน์

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android