คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2397/2529

 แหล่งที่มา: กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 
ข้อบังคับเกี่ยวกับโครงการเงินบำเหน็จเมื่อออกจากงานของจำเลยกำหนดจำนวนเงินบำเหน็จในกรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุว่า '..........จำนวนเงินบำเหน็จจะเท่ากับเงินเดือนมูลฐานครั้งสุดท้ายทั้งเดือน คูณด้วยจำนวนปีของการเป็นลูกจ้างในบริษัท' คำว่า เงินเดือนมูลฐานมีความหมายจำกัดลงมาเฉพาะเงินเดือนที่แท้จริง ค่านำร่องพิเศษหาใช่เงินเดือนมูลฐานอันจะนำมาคำนวณจำนวนเงินบำเหน็จไม่ต่างกับเรื่องค่าจ้างที่จะนำค่านำร่องพิเศษมาเป็นฐานคำนวณค่าชดเชย
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยหมวดวินัยและโทษทางวินัยระบุว่าการเตือนด้วยวาจา และการเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นโทษทางวินัย โดยหัวหน้าฝ่ายเป็นผู้มีอำนาจลงโทษสองสถานนี้ได้ และหมวดการยื่นคำร้องทุกข์และข้อเสนอแนะ กำหนดให้นายเรือมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายด้วย โจทก์ซึ่งเป็นกัปตัน หรือนายเรือจึงเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการลงโทษ โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 43 และ 36(1)
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับโครงการเงินบำเหน็จเมื่อออกจากงานของจำเลยข้อ 9 (ค) ให้สิทธิแก่จำเลยที่จะหักเงินจำนวนเท่าค่าชดเชยออกจากเงินบำเหน็จได้ จำเลยได้ใช้สิทธินำค่าชดเชยส่วนอื่นไปหักจากเงินบำเหน็จตามที่แจ้งให้โจทก์ไปรับแล้วการที่มิได้นำค่าชดเชยในเงินค่าเบี้ยเลี้ยงไปหักออกด้วย ก็เพราะจำเลยเข้าใจว่าเบี้ยเลี้ยงมิใช่ค่าจ้าง เมื่อเบี้ยเลี้ยงเป็นค่าจ้าง ทั้งจำเลยก็ได้แสดงเจตนาขอหักมาในคำให้การแล้ว จึงชอบที่จะหักเงินค่าชดเชยที่เพิ่มขึ้นออกจากเงินบำเหน็จที่จำเลยจะต้องจ่ายได้
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มาตรา 36
  • ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มาตรา 43
  • ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มาตรา 46

ผู้พิพากษา

สมบูรณ์ บุญภินนท์
สุพจน์ นาถะพินธุ
เพียร สุมิระ

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android