คำพิพากษาย่อสั้น
++ เรื่อง ซื้อขาย หนี้ ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++ โจทก์ฎีกา
++
++ ข้อเท็จจริงในชั้นฎีกาฟังเป็นยุติได้ตามที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่โต้แย้งกันว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดมีวัตถุประสงค์ในการจำหน่ายสินค้าประเภทปุ๋ยเกษตรกรรม จำเลยที่ 2ใช้นามแฝงในทางการค้าว่า นายกิจจา บุญนำ ประกอบอาชีพรับซื้อปุ๋ยจากบริษัทผู้ค้าปุ๋ยรายอื่นเพื่อนำไปขายต่ออีกทอดหนึ่ง โจทก์ประกอบอาชีพค้าขายปุ๋ยเกษตรกรรม โดยซื้อปุ๋ยจากจำเลยที่ 2 เพื่อนำไปจำหน่ายให้แก่ลูกค้าอีกทอดหนึ่ง
++ เมื่อปี 2536 จำเลยที่ 1 ขายปุ๋ยให้แก่จำเลยที่ 2 คิดเป็นเงินจำนวน 20,359,400 บาท โดยจำเลยที่ 1 ออกใบสั่งจ่ายสินค้าระบุประเภทจำนวน น้ำหนัก และชื่อที่จำเลยที่ 2 ใช้ในทางการค้า ให้แก่จำเลยที่ 2เพื่อนำไปเบิกปุ๋ยจากโกดังของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2ชำระราคาปุ๋ยด้วยการสั่งจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้า
++ ต่อมาจำเลยที่ 2 ขายปุ๋ยด้วยการส่งมอบใบสั่งจ่ายสินค้าดังกล่าวบางส่วนให้แก่โจทก์ ตามใบสั่งจ่ายสินค้าเอกสารหมาย จ.1 แต่จำเลยที่ 1 ไม่ยอมจ่ายสินค้าตามใบสั่งจ่ายสินค้าดังกล่าวโดยอ้างว่าเช็คชำระค่าปุ๋ยของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ซื้อปุ๋ยดังกล่าวไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้
++
++ มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 หรือไม่
++ ที่โจทก์ฎีกาว่า การซื้อขายปุ๋ยในคดีนี้ระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดเพราะมีการชำระราคาตั้งแต่แรก และเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งคือปุ๋ยตามใบสั่งจ่ายสินค้าเอกสารหมาย จ.1 กำหนดจำนวนน้ำหนักและขนาดบรรจุแน่นอน ไม่จำเป็นต้องนับ ชั่ง ตวงใหม่ และไม่จำต้องมากำหนดราคาที่แน่นอนใหม่
++ เห็นว่า ปุ๋ยที่จำเลยที่ 2 ตกลงซื้อจากจำเลยที่ 1เก็บอยู่ที่โกดังเก็บสินค้าของจำเลยที่ 1 ยังมิได้มีการคัดเลือกออกมาว่าปุ๋ยถุงใดจะขายให้แก่จำเลยที่ 2 เพื่อให้บ่งตัวทรัพย์สินนั้นออกเป็นที่แน่นอนแล้วแต่อย่างใด กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายกันยังไม่โอนไปยังจำเลยที่ 2ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 460 วรรคหนึ่ง จึงมิใช่การซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
++ ที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของจำเลยที่ 1 นั้น
++ เห็นว่าตามคำฟ้องโจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 ขายปุ๋ยให้แก่จำเลยที่ 2 หาได้อ้างว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของจำเลยที่ 1 ไม่ ทั้งข้ออ้างว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนนั้นก็เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
++ ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า เอกสารใบสั่งจ่ายสินค้าเอกสารหมาย จ.1 เป็นทรัพยสิทธิ ไม่ใช่บุคคลสิทธิ จึงสามารถโอนเปลี่ยนมือได้ การซื้อปุ๋ยระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์เป็นการโอนหนี้อันพึงต้องชำระแก่โจทก์ผู้ถือใบสั่งจ่ายสินค้าดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 313 ประกอบมาตรา 312 จำเลยที่ 1 จะยกข้อต่อสู้อันมีต่อจำเลยที่ 2 ขึ้นต่อสู้โจทก์ผู้ได้สิทธิมาโดยสุจริตหาได้ไม่นั้น
++ ในข้อนี้ปรากฏข้อความในใบจ่ายสินค้าด้านหน้าทุกฉบับเอกสารหมาย จ.1 ว่า "บริษัทเวิลด์เฟอท จำกัด...ใบสั่งจ่ายสินค้าเลขที่...วันที่...ใบส่งของเลขที่...เรียนหัวหน้าคลังสินค้าบริษัทเวิลด์เฟอท จำกัด (บางยอ) โปรดจ่ายสินค้าให้คุณกิจจา บุญนำ สินค้าปุ๋ยสูตร ... ขนาด... กกง จำนวน...กระสอบน้ำหนัก...ตัน ได้รับสินค้าตามรายการข้างบนนี้ไว้ถูกต้องเรียบร้อยแล้วผู้รับสินค้า...ผู้ซื้อ... ผู้ตรวจสอบ...ผู้อนุมัติ..." ส่วนที่ด้านหลังใบสั่งจ่ายสินค้าดังกล่าวระบุข้อความเป็นคำเตือนของบริษัทจำเลยที่ 1และมีข้อความว่า "ลงชื่อ...ผู้โอน"
++ เมื่อได้วินิจฉัยไว้ข้างต้นแล้วว่าการซื้อขายปุ๋ยระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ใช่การซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในปุ๋ยที่ขายยังไม่โอนมาเป็นของจำเลยที่ 2 ใบสั่งจ่ายสินค้าดังกล่าวจึงมิใช่ตราสารแสดงกรรมสิทธิ์ในสินค้าปุ๋ยอันเป็นทรัพยสิทธิจำเลยที่ 2 มีเพียงสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1ส่งมอบปุ๋ยชนิด ขนาดบรรจุ จำนวน และน้ำหนักตามที่ระบุในใบสั่งจ่ายสินค้าดังกล่าวอันเป็นเพียงบุคคลสิทธิที่ผูกพันกันระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2เท่านั้น
++ ทั้งใบสั่งจ่ายสินค้าตามเอกสารหมาย จ.1 ก็เป็นเอกสารที่จำเลยที่ 1ได้ระบุไว้ชัดเจนให้หัวหน้าคลังสินค้าของจำเลยที่ 1 จ่ายสินค้าตามใบสั่งจ่ายสินค้าให้แก่บุคคลผู้มีชื่อคือจำเลยที่ 2 ใบสั่งจ่ายสินค้าดังกล่าวจึงมิใช่ตราสารอันพึงต้องชำระแก่ผู้ถือ ตามนัยของมาตรา 313 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
++ ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อในช่องผู้โอนสิทธิเรียกร้องตามใบสั่งจ่ายสินค้าให้แก่โจทก์ไว้ที่ด้านหลังใบสั่งจ่ายสินค้าทุกฉบับตามเอกสารหมาย จ.1 หรือได้ทำเป็นหนังสือโอนหนี้อันพึงต้องชำระแก่โจทก์เจ้าหนี้โดยเฉพาะเจาะจงแต่อย่างใด การที่โจทก์นำใบสั่งจ่ายสินค้าตามเอกสารหมาย จ.1 ไปขอรับสินค้าจากจำเลยที่ 1ย่อมเป็นได้เพียงการทำการแทนจำเลยที่ 2 เท่านั้น โจทก์และจำเลยที่ 1จึงมิได้มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน
++ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ยอมจ่ายสินค้าตามใบสั่งจ่ายสินค้าเอกสารหมาย จ.1 นั้น โจทก์ก็ไม่อาจอ้างว่าถูกจำเลยที่ 1 โต้แย้งสิทธิและมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ส่งมอบสินค้าตามใบสั่งจ่ายสินค้าเอกสารหมาย จ.1 ได้