คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5778/2540

 แหล่งที่มา: กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 
บันทึกคำร้องทุกข์ของโจทก์ระบุว่า ศ. (จำเลย) ซึ่งเป็นลูกจ้างได้ยักยอกเงินของผู้แจ้งไป เท่าที่ตรวจพบขณะนี้เป็นจำนวนเงิน 230,000บาท ทำให้ผู้แจ้งได้รับความเสียหาย จึงมาแจ้งความร้องทุกข์มอบคดีให้กับพนักงาน-สอบสวนเพื่อดำเนินคดีกับผู้ต้องหาจนกว่าคดีจะถึงที่สุด และลงชื่อกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ แม้มิได้ระบุว่ากระทำในนามโจทก์ ทั้งไม่ปรากฏรอยตราเครื่องหมายโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลในช่องผู้ร้องทุกข์ก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์โดย ส.กรรมการผู้จัดการได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนด้วยวาจา มิได้ยื่นคำร้องทุกข์เป็นหนังสือ โดยพนักงาน-สอบสวนได้จัดทำคำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษตามแบบฟอร์มของกรมตำรวจไว้และพนักงานสอบสวนจดบันทึกในคำร้องทุกข์ไม่ครบถ้วนตามที่ ส.แจ้งไว้ แล้วให้ส.ลงชื่อไว้โดยไม่ได้ประทับตราบริษัทโจทก์ ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ยกบันทึกคำร้องทุกข์ซึ่งพนักงานสอบสวนจัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์เป็นหลักฐานมาตำหนิและวินิจฉัยว่าเป็นการกระทำของ ส.เป็นส่วนตัว ทั้งที่ก่อนหน้านี้ศาลอุทธรณ์ได้เคยวินิจฉัยปัญหานี้ไว้ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า การร้องทุกข์ของโจทก์เป็นไปโดยชอบและพิพากษาให้คดีมีมูลจึงเป็นการไม่ชอบ
การที่ ส.กรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้พบพนักงาน-สอบสวนแล้วแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหายักยอกทรัพย์ของโจทก์ ตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีนั้นเป็นการเพียงพอที่จะฟังได้แล้วว่า โจทก์ในฐานะผู้เสียหายได้ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลยว่ากระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 123

ผู้พิพากษา

ปราโมทย์ ชพานนท์
เหล็ก ไทรวิจิตร
สกนธ์ กฤติยาวงศ์

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android