คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 363/2492

 แหล่งที่มา: กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 
ผู้ตายได้ทำเอกสารฉะบับหนึ่งมีข้อกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนว่า ให้ยกเงินสองหมื่นบาทให้แก่ อ. เมื่อตนตาย ดังนี้ เอกสารดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นพินัยกรรม์
ในพินัยกรรม ตอนท้ายมีข้อความว่า (นางลำดวน) ผู้ทำพินัยกรรม์ ได้ลงลายมือชื่อต่อหน้าผู้รู้เห็นไว้เป็นสำคัญแล้ว ยังมีคำว่า "ต่อหน้า" อยู่ข้างหน้ากึ่งกลางระหว่างลายมือชื่อพะยานกับผู้เขียนอีกด้วย จึงนับได้ว่าเป็นข้อความอันแสดงว่าบุคคลทั้ง 2 นี้ได้ลงชื่อในฐานะเป็นพะยาน ดังนี้ พินัยกรรม์รายนี้นับว่าถูกต้องตาม ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 1656 แล้ว แม้ตามมาตรา 1671 จะมีข้อความว่า ถ้าผู้เขียนข้อความแห่งพินัยกรรม์เป็นพะยาน ก็ให้เขียนข้อความระบุว่าตนเป็นพะยานต่อท้ายลายมือชื่อของตนเช่นเดียวกับพะยานผู้อื่นก็ดี ความมุ่งหมายสำคัญของมาตรานี้ ก็เพื่อให้มีข้อความแสดงว่า ผู้เขียนนั้นเป็นพะยานด้วย ซึ่งในคดีนี้ผู้เขียนก็ได้เบิกความรับรองไว้แล้ว พินัยกรรม์ จึงหาขัดกับมาตรา 1671 ไม่
พะยานจะลงชื่อก่อนหรือหลังผู้ทำพินัยกรรม์ไม่สำคัญ เมื่อได้ความว่า ผู้ทำพินัยกรรม์ได้ลงชื่อของตนในเวลาที่อยู่พร้อมกันในขณะนั้น ก็เป็นการใช้ได้.
ประชุมใหญ่ครั้งที่ 14/2492)
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1671.

ผู้พิพากษา

ประวัติ ปัตตพงศ์
ทรงนิติกรณ์
ศิลปสิทธิวินิจฉัย

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android