คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 222/2506

 แหล่งที่มา: กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 
การที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการสำรวจการออกโฉนดที่ดิน พ.ศ. 2496 มาตรา 3, 4, 5, 7 ให้ก่อตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง มีอำนาจทำการสำรวจและสั่งยกเลิกการออกโฉนดที่ดินซึ่งคณะกรรมการเห็นว่าได้กระทำไปโดยมิชอบด้วยความเป็นธรรมแล้วสั่งให้มีการออกโฉนดที่ดินใหม่ได้ตามความเป็นธรรม และให้ถือว่าคำสั่งคณะกรรมการเป็นเด็ดขาด จะนำไปฟ้องคดีเพื่อแก้ไขให้เป็นอย่างอื่นมิได้นั้น เป็นการให้คณะกรรมการมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินอันเป็นกรณีพิพาทระหว่างบุคคล ลบล้างกรรมสิทธิ์ของบุคคลที่มีอยู่แล้ว และก่อตั้งกรรมสิทธิ์ขึ้นใหม่ มีผลเท่ากับตั้งคณะบุคคลอื่นที่มิใช่ศษลให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดีแยกไปจากอำนาจของศาลโดยชัดแจ้ง จึงเป็นการแย้งและขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งบัญญัติว่า การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะ
ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 61 ซึ่งให้อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจเรียกโฉนดที่ดินหรือเอกสารที่ได้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมหรือเอกสารที่ได้จดแจ้งรายการทะเบียนที่ดินมาแก้ไขให้ถูกต้องหรือเพิกถอนเสียได้นั้นเป็นเพียงอำนาจบริหารเท่านั้น อธิบดีกรมที่ดินจะวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่คู่กรณีโต้แย้งสิทธิกันหาได้ไม่
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • พระราชบัญญัติว่าด้วยการสำรวจการออกโฉนดที่ดิน พ.ศ.2496 มาตรา 3
  • พระราชบัญญัติว่าด้วยการสำรวจการออกโฉนดที่ดิน พ.ศ.2496 มาตรา 4
  • พระราชบัญญัติว่าด้วยการสำรวจการออกโฉนดที่ดิน พ.ศ.2496 มาตรา 5
  • พระราชบัญญัติว่าด้วยการสำรวจการออกโฉนดที่ดิน พ.ศ.2496 มาตรา 7
  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2495 มาตรา 99
  • ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61

ผู้พิพากษา

โพยม เลขยานนท์
ประมูล สุวรรณศร
เจน เวชศิลป์

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android