คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1091/2537

 แหล่งที่มา: สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 
คำฟ้องสำนวนแรกโจทก์อ้างการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทด้วยการครอบครองปรปักษ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1382 อันเป็นการกล่าวอ้างการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยนิติเหตุ ส่วนคำฟ้องสำนวนหลังโจทก์อ้างการได้มาโดยการที่โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกล่าวอ้างการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยทางนิติกรรม ถึงแม้คำขอของโจทก์ทั้งสองสำนวนจะเป็นอย่างเดียวกันคือขอให้เปลี่ยนชื่อในโฉนดที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ก็ตาม เมื่อคำฟ้องในสำนวนคดีหลังข้ออ้างที่จะต้องวินิจฉัย ไม่ใช่อย่างเดียวกันกับข้ออ้างในคำฟ้องสำนวนแรก จึงถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่เป็นการยื่นฟ้องในเรื่องเดียวกันอันจะถือว่าเป็นการฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) จำเลยที่ 1 ขายที่ดินโฉนดเลขที่ 5178 แก่โจทก์ และขายที่ดินโฉนดเลขที่ 2799 แก่จำเลยที่ 2 แต่ได้มีการโอนที่ดินในโฉนดผิดแปลงกัน การที่โจทก์กับจำเลยที่ 2 รับโอนโฉนดที่ดินสลับกันมาเป็นเพราะความเข้าใจผิด แต่โจทก์และจำเลยที่ 2 ได้ครอบครองที่ดินถูกต้องตลอดมา ศาลพิพากษาให้โจทก์และจำเลยทั้งสองจดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดที่ถูกต้องได้
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173

ผู้พิพากษา

สกล เหมือนพะวงศ์
พิมล สมานิตย์
สมภพ โชติกวณิชย์

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android