คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1919/2529

 แหล่งที่มา: ADMIN
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 
โจทก์ลากิจและลาป่วยเกินกำหนด45วันต่อปีได้ทำหนังสือทัณฑ์บนไว้แก่จำเลยนายจ้างว่าถ้าไม่ได้ขึ้นค่าจ้างในปีต่อไปยอมให้เลิกจ้างได้ดังนี้แม้ว่าข้อบังคับของจำเลยจะกำหนดให้ลูกจ้างต้องอุทิศเวลาให้แก่กิจการของจำเลยก็ตามแต่การที่โจทก์ลากิจและลาป่วยเกิน45วันต่อปีอีกก็มิใช่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นแต่เพียงเหตุที่ทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับการพิจารณาความดีความชอบประจำปีเท่านั้นส่วนหนังสือทัณฑ์บนเป็นเพียงการบอกกล่าวให้โจทก์ทราบล่วงหน้าว่าหากถูกงดขั้นเงินเดือนหรือค่าจ้าง2ปีติดต่อกันอาจถูกเลิกจ้างได้จึงไม่ใช่หนังสือตักเตือนตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานเมื่อโจทก์ลากิจและลาป่วยเกิน45วันต่อปีโดยได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาโดยชอบแล้วโจทก์จึงไม่ได้กระทำผิดเพราะลากิจและลาป่วยมากและไม่ถือว่าเป็นการจงใจขัดคำสั่งโดยชอบของนายจ้างทั้งไม่เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยและต้องบอกกล่าวล่วงหน้า. จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ลูกจ้างประจำรายวันทุกวันที่14และวันที่28ของเดือนเมื่อจำเลยบอกเลิกการจ้างวันที่19กันยายน2528การเลิกจ้างย่อมมีผลตามกฎหมายในวันที่14ตุลาคม2528ซึ่งเป็นวันถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปการที่จำเลยบอกเลิกจ้างต่อโจทก์ในวันที่19กันยายน2528โดยให้มีผลเลิกจ้างในวันที่1ตุลาคม2528และต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันที่13ตุลาคมรวม9วันเพราะช่วงระยะเวลาดังกล่าวตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์เสาร์อาทิตย์รวม4วันและต้องจ่ายค่าครองชีพเป็นเวลา13วัน. เงินบำเหน็จเงินประกันและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมายไม่ได้กำหนดให้จ่ายตั้งแต่วันเลิกจ้างโจทก์จึงต้องทวงถามก่อนเมื่อไม่ปรากฏว่ามีการทวงถามจำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันฟ้อง.
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583
  • ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มาตรา 583

ผู้พิพากษา

สุรัตน์ ศรีอนุพันธุ์
สมบูรณ์ บุญภินนท์
เพียร สุมิระ

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android