คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19463/2555

 แหล่งที่มา: กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
 เผยแพร่เมื่อ: 24 มิ.ย. 2559 13:57:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 
เครื่องหมายการค้า ของโจทก์และเครื่องหมายการค้า COMSTAR ของจำเลยต่างมีภาคส่วนเครื่องหมายคำเป็นอักษรโรมันคำว่า COM เช่นเดียวกัน แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะมีภาคส่วนดาวซึ่งแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งเป็นเครื่องหมายคำไม่มีภาพประกอบ แต่รูปดาวของโจทก์นั้นบุคคลทั่วไปย่อมทราบว่าหมายถึงคำว่า ดาว หรือคำว่า STAR ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลย ทั้งตามคำขอจดทะเบียนโจทก์ได้ระบุคำอ่านรูปดาวในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ว่า "สตาร์" ซึ่งเมื่อเรียกขานรวมทั้งเครื่องหมายจะเรียกขานได้ว่า "คอมสตาร์" ซึ่งพ้องกับเสียงเรียกขานของเครื่องหมายการค้าของจำเลย เมื่อโจทก์และจำเลยต่างจดทะเบียนใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันรายการสินค้าเดียวกัน เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
จำเลยเป็นเพียงผู้จำหน่ายสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้า และสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้า COMSTAR ซึ่งเป็นของบริษัท ซ. ที่จำเลยซื้อจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมาจำหน่ายในประเทศไทย เมื่อโจทก์ได้นำเครื่องหมายการค้า ไปจดทะเบียนเป็นของตน จำเลยไม่อาจจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้ จำเลยจึงจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า COMSTAR แทนเพื่อจำหน่ายสินค้าให้แก่กลุ่มลูกค้าเดิม จึงเป็นการที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าของบริษัท ซ. มาจดทะเบียนเป็นของตนโดยไม่สุจริต
โจทก์เป็นเพียงผู้ซื้อสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้า ของบริษัท ซ. จากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมาจำหน่ายในประเทศไทยเช่นเดียวกับจำเลย แล้วโจทก์นำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาจดทะเบียนเป็นของตนโดยไม่สุจริตเช่นเดียวกับจำเลย ดังนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิในเครื่องหมายการค้า และเครื่องหมายการค้า COMSTAR สำหรับสินค้าที่ยื่นขอจดทะเบียนไว้ดีกว่าจำเลย
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2542 มาตรา 67

ผู้พิพากษา

เฉลียว พลวิเศษ
อร่าม เสนามนตรี
ธัชพันธ์ ประพุทธนิติสาร

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android