คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1441/2540

 แหล่งที่มา: สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 
หากจำเลยประสงค์จะแก้ไขวันที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาทจำเลยก็น่าจะเขียนวันที่สั่งจ่ายใหม่ด้วยลายมือของตนเองเหมือนกันที่ได้กรอกข้อความลงในรายการตามเช็คต่อหน้าโจทก์ไม่มีเหตุผลใดที่จะต้องใช้ตราประทับลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คในเมื่อวันที่สั่งจ่ายครั้งแรกจำเลยก็เขียนด้วยลายมือของตนเองและเมื่อเปรียบเทียบลายมือชื่อที่กำกับไว้ใต้ตราประทับกับลายมือชื่อของจำเลยในฐานะผู้สั่งจ่ายมีลักษณะแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ขีดฆ่าวันที่สั่งจ่ายครั้งแรกและประทับตราลงวันที่ใหม่เมื่อเช็คพิพาทมีแก้ไขวันที่สั่งจ่ายโดยไม่ปรากฏตัวผู้แก้ไขและการแก้ไขดังกล่าวถือเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญโดยจำเลยผู้ต้องรับผิดตามเช็คมิได้ยินยอมด้วยเช็คดังกล่าวจึงเป็นอันเสียไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1007วรรคหนึ่งเมื่อเช็คอันเป็นมูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายโจทก์ไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยใช้เงินตามเช็คได้จำเลยจึงมิได้เป็นหนี้โจทก์โจทก์จะฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา9ไม่ได้
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1007
  • พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9

ผู้พิพากษา

พิชัย เตโชพิทยากูล
ไพโรจน์ คำอ่อน
เสริม บุญทรงสันติกุล

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android