คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2492

 แหล่งที่มา: กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 

ผู้พิพากษาซึ่งเคยนั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น แม้จะถูกย้ายไปอยู่ศาลอื่นก็ตาม ถ้าหากยังคงเป็นผู้พิพากษาอยู่ ก็ย่อมอนุญาตให้คู่ความในคดีนั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221
คดีของโจทก์มีพยานเอกสารมากมาย เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าพยานบุคคลรับฟังไม่ได้ แม้มีพยานเอกสารมาเจือสมก็ไม่มีผลดีแก่คดีของโจทก์แล้ว ศาลอุทธรณ์จะไม่พิจารณาพยานเอกสารนั้นๆ ต่อไปก็ได้ ไม่เป็นการผิดกฎหมาย
คดีลักทรัพย์ ถ้าปรากฏว่าจำเลยได้กระทำผิดก่อนเจ้าทรัพย์ถึงแก่กรรมทายาทหรือผู้จัดการมรดกของเจ้าทรัพย์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องร้องเพราะไม่ใช่ผู้เสียหาย
ฟ้องโจทก์ได้กล่าวหาว่าจำเลยปลอมหนังสือสัญญากู้และกระทำพยานหลักฐานเท็จตั้งแต่ระยะเวลาก่อนผู้เสียหายถึงแก่กรรมตลอดมาจนภายหลังถึงแก่กรรม คดีไม่อาจชี้ได้ว่าจำเลยกระทำผิดในระยะใด คดีไม่มีทางที่จะรู้ได้ว่าโจทก์จะมีอำนาจฟ้องได้หรือไม่ เช่นนี้ในชั้นฎีกาก็ไม่จำเป็นต้องพิจารณาข้อเท็จจริงต่อไป
ในข้อหาที่ว่าจำเลยอ้างหลักฐานเท็จในคดีแพ่ง คือหาว่าจำเลยอ้างสัญญากู้ที่จำเลยทำปลอมขึ้นโดยเจตนาจะใช้แทนสัญญากู้ฉบับที่จำเลยกู้เงินจากผู้ตาย ดังนี้เมื่อเป็นคดีที่จำเลยฟ้องร้องกันเองในคดีแพ่ง โจทก์ซึ่งเป็นทายาทหรือผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ย่อมไม่ใช่เป็นผู้เสียหายในคดีนั้นจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาในข้อหาฐานอ้างหลักฐานเท็จ
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 29
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 105
  • กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 157
  • กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 223
  • กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 224
  • กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 226
  • กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 228
  • กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 288
  • กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 293
  • พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะอาญา พ.ศ.2477 (ฉบับที่ 4) มาตรา 4
  • พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ ฉบับที่ 6 มาตรา 4

ผู้พิพากษา

ลัดพลีธรรมประคัลภ์
ธรรมบัณฑิตสิทธิศฤงคาร
ปรีชาวินิจฉัย

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android