คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1585/2529

 แหล่งที่มา: ADMIN
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 
การที่ตัวการให้สัตยาบันต่อการกระทำนอกเหนือขอบอำนาจของตัวแทนต่อบุคคลภายนอกอันมีผลทำให้นิติกรรมซึ่งไม่ผูกพันตัวการกลับเป็นผูกพันตัวการโดยตรงและทำให้ตัวแทนหลุดพ้นความรับผิดที่มีต่อบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา823นั้นไม่ทำให้ตัวแทนหลุดพ้นจากความรับผิดต่อตัวการในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากกิจการที่ตนกระทำนอกเหนือขอบอำนาจนั้นตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา812 จำเลยที่1เป็นผู้จัดการสาขาธนาคารโจทก์โดยมีจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันบ.เป็นลูกค้าได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับสาขาธนาคารโจทก์โดยมีส.เป็นผู้ค้ำประกันก่อนที่จำเลยที่1จะรับหน้าที่เป็นผู้จัดการเมื่อจำเลยที่1เข้ารับหน้าที่ผู้จัดการได้ให้บ.เบิกเงินเกินบัญชีเกินวงเงินที่ทำสัญญาไว้มากเป็นการเกินขอบอำนาจของผู้จัดการสาขาต่อมาบ.ถึงแก่กรรมธนาคารโจทก์ทราบแล้วไม่ได้ดำเนินการเรียกร้องหรือฟ้องเรียกหนี้จากกองมรดกของบ.ลูกหนี้หรือจากส.ผู้ค้ำประกันทั้งๆที่มีโอกาสจะทำได้จนโจทก์หมดสิทธิฟ้องเพราะขาดอายุความมรดกเมื่อบ.มีทรัพย์สินและโจทก์มีโอกาสจะได้รับชำระหนี้สิ้นเชิงหากดำเนินการฟ้องร้องหนี้นั้นดังนี้การที่โจทก์ไม่ฟ้องร้องย่อมเป็นการละเลยไม่บำบัดปัดป้องหรือบรรเทาความเสียหายถือเป็นเหตุที่เจ้าหนี้มีส่วนทำความผิดให้เกิดความเสียหายหรือนัยหนึ่งความเสียหายเกิดจากการละเว้นการกระทำของโจทก์ที่ไม่ยอมบำบัดปัดป้องไม่ให้ความเสียหายเกิดขึ้นจำเลยที่1ซึ่งเป็นตัวแทนผู้กระทำการนอกเหนือขอบอำนาจจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์และจำเลยที่2ในฐานะผู้ค้ำประกันก็ย่อมไม่ต้องรับผิดด้วย.(ที่มา-เนติฯ)
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 223
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 812
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823

ผู้พิพากษา

วิฑูรย์ ตั้งตรงจิตต์
โสภณ รัตนากร
ไพรัช วงศ์วัฒนะ

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android