คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5594/2551

 แหล่งที่มา: สำนักวิชาการ
 เผยแพร่เมื่อ: 9 ธ.ค. 2553 09:07:16

คำพิพากษาย่อสั้น

 
ในการพิจารณาเปรียบเทียบเครื่องหมายการค้าว่าคล้ายกันหรือไม่นี้ จะต้องพิจารณาจากเครื่องหมายการค้าทั้งเครื่องหมาย มิได้พิจารณาเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งเท่านั้น และยังต้องพิจารณาในส่วนของเสียงเรียกขาน ตลอดจนจำพวกและรายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนด้วยเพราะต้องคำนึงถึงกลุ่มผู้บริโภคสินค้านั้นๆ เป็นสำคัญว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจะช่วยให้กลุ่มผู้บริโภคสามารถแยกแยะเจ้าของสินค้าหรือแสดงความเชื่อมโยงระหว่างสินค้ากับเจ้าของสินค้านั้นได้หรือไม่
สำหรับคดีนี้ หากกลุ่มผู้บริโภคไม่ได้พิจารณาเครื่องหมายการค้าโดยละเอียดหรือไม่ได้นำเครื่องหมายการค้านั้นมาพิจารณาเปรียบเทียบพร้อมกัน หรือใช้แต่เสียงเรียกขานของเครื่องหมายการค้าในการเลือกสินค้า โดยไม่ได้สังเกตลักษณะของเครื่องหมายการค้าโดยตรงแล้ว อาจเกิดความสับสนในการเลือกสินค้าหรือแยกแยะเจ้าของสินค้าได้ ถือว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์คล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เพราะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วนั้นจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 13
  • พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 8
  • พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6

ผู้พิพากษา

บุญรอด ตันประเสริฐ
พลรัตน์ ประทุมทาน
พินิจ บุญชัด

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android