คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4580/2528

 แหล่งที่มา: กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 
คำฟ้องของโจทก์ที่ขอแก้ไขจากคำว่า 'เงินมัดจำ' เป็น'เงินที่จ่ายล่วงหน้า' เป็นถ้อยคำที่ก่อให้เกิดผลตามกฎหมายขึ้นแตกต่างกัน ไม่ใช่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้องหลังจากวันชี้สองสถานแล้ว จึงขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180 ศาลฎีกาไม่อนุญาตให้โจทก์แก้
ศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะดำเนินการชี้สองสถานเพื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีแล้วให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปตามนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวนี้เป็นคำสั่งในระหว่าง พิจารณาซึ่งห้ามมิให้อุทธรณ์ฎีกาในระหว่างพิจารณา เว้นแต่คู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคัดค้านไว้ คู่ความที่โต้แย้งชอบที่จะอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งนั้นภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่ วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี
ประเด็นแห่งคดีที่ว่า โจทก์ได้ขยายเวลาให้แก่จำเลยนั้นไม่เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งชี้สองสถานของศาลชั้นต้นอันเกี่ยวกับประเด็นข้อนี้ไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อกำหนดประเด็นดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 โจทก์ฟ้องเรียกเงินมัดจำในการจ้างทำของคืนแล้วขอแก้ฟ้องอ้างว่าเป็นเงินที่จ่ายล่วงหน้าซึ่งศาลไม่อนุญาตแม้ขอใหม่ ศาลฎีกาเห็นว่าไม่ใช่เงินมัดจำ แต่เป็นเงินที่จ่ายล่วงหน้า ก็พิพากษาให้คืนได้ไม่เป็นการนอกฟ้อง
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247

ผู้พิพากษา

สุชาติ จิวะชาติ
วีระ ทรัพยไพศาล
ยรรยง อิทธิพงษ์

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android