คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4397/2530

 แหล่งที่มา: กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 

จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการสาขาของธนาคารโจทก์ร่วมได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของธนาคาร กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริตผิดระเบียบเกี่ยวกับการอนุมัติเบิกจ่ายเงินจนลูกค้าธนาคารโจทก์ร่วมเป็นลูกหนี้ธนาคารโจทก์ร่วมสูงกว่าหลักประกันถึงหกแสนบาทเศษ ดังนี้ ย่อมเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของธนาคารโจทก์ร่วมตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 353 แล้ว
เงินที่จำเลยอนุมัติให้เบิกจ่ายไปจากบัญชีกระแสรายวันของลูกค้าธนาคารโจทก์ร่วมเป็นเงินของธนาคารโจทก์ร่วม ธนาคารโจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์และขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้
หนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยและผู้เกี่ยวข้องไม่จำเป็นต้องระบุว่าให้ร้องทุกข์กี่คดีและไม่จำเป็นต้องกำหนดระยะเวลาการมอบอำนาจไว้
ฟ้องไม่ได้บรรยายว่าจำเลยครอบครองทรัพย์และเบียดบังทรัพย์ของผู้เสียหาย โจทก์เพียงแต่อ้าง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 มาในคำขอท้ายฟ้องเท่านั้นจำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 797
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336
  • ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352
  • ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 3
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 30
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192

ผู้พิพากษา

เสรี แสงศิลป์
สุชาติ จิวะชาติ
อำนวย เปล่งวิทยา

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android