คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4393/2530

 แหล่งที่มา: สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 
การที่ทายาทจะขอรับมรดกของเจ้ามรดกนั้น จะต้องมีคำยินยอมของทายาททุกคนมาแสดง โจทก์กระทำฝ่าฝืนระเบียบแบบแผนของทางราชการจนเป็นเหตุให้มีชื่อ โจทก์ ในโฉนด แต่ผู้เดียว จึงเป็นเรื่องที่โจทก์มีชื่อ ในทะเบียนสิทธิโดยไม่ชอบ ต้องถือว่าที่ดินตามโฉนด ดังกล่าวยังเป็นมรดกของ ล. ผู้ตายอยู่ โดยโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นทายาทได้ครอบครองร่วมกันมา จำเลยจึงมีสิทธิในฐานะเป็นเจ้าของร่วมในที่ดินด้วย ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่ว่า โจทก์ประสงค์จะให้จำเลยออกจากที่ดินภายในกำหนดที่ตกลงกันโดยโจทก์จะยินยอมจ่ายเงินค่ารื้อถอนให้ 12,000 บาท ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงข้อเสนอของโจทก์ ไม่มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมระงับข้อพิพาทใด ๆ ระหว่างโจทก์จำเลย ทั้งยังไม่เป็นการแสดงเจตนาของจำเลยว่า จำเลยไม่ได้มีเจตนาจะครอบครองที่ดินมรดกอย่างเป็นเจ้าของ ดังนี้โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยรื้อถอนบ้านและยุ้งข้าวออกไปจากที่พิพาทได้.
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1368
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55

ผู้พิพากษา

วิฑูรย์ ตั้งตรงจิตต์
เฉลิม การปลื้มจิตต์
ไมตรี กลั่นนุรักษ์

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android