คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 264/2530

 แหล่งที่มา: สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 
ในชั้นยื่นคำฟ้อง แม้ทนายความ ซึ่ง อ. เป็นผู้แต่ง ตั้งให้เป็นทนายความของโจทก์จะได้ลงชื่อในคำฟ้องในฐานะโจทก์ โดยโจทก์มิได้มอบอำนาจให้ อ. ฟ้องจำเลยและดำเนินคดีแทนโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้ตรวจและมีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์ไว้ และจำเลยได้ยื่นคำให้การแล้ว ซึ่งเป็นกรณีล่วงเลยชั้นตรวจรับฟ้อง จึงนำป.วิ.พ. มาตรา 18 มาใช้บังคับไม่ได้ เมื่อไม่มีการชี้ สองสถานโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันสืบพยานโจทก์เป็นว่ามอบอำนาจให้ อ. เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์ ศาลย่อมมีอำนาจอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้ ซึ่งมีผลทำให้ฟ้องที่ไม่สมบูรณ์กลับเป็นฟ้องที่สมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก ทั้งนี้อาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 66ซึ่งให้อำนาจศาลไว้ว่า ถ้า มีผู้อ้างว่าเป็นผู้แทนของนิติบุคคลเมื่อศาลเห็นสมควรก็สอบสวนได้เป็นอำนาจที่กฎหมายให้ไว้แก่ศาลโดยกว้างขวาง เมื่อใดศาลเห็นว่าผู้นั้นไม่มีอำนาจดัง ที่อ้างหรืออำนาจบกพร่อง ศาลย่อมมีอำนาจยกฟ้อง หรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างอื่นได้ตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดได้เข้าทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ในนามของห้างจำเลยที่ 1 โดยลงชื่อตนเองและประทับตราของห้างจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าเป็นการสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของจำเลยที่ 1 แล้ว ส่วนห้างจำเลยที่ 1 นั้นได้ยอมชำระเงินค่าเช่าซื้อให้โจทก์ถึง 4 งวด โดยมิได้ท้วงติงแต่ประการใด จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อต่อโจทก์เมื่อห้างจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ จำเลยที่ 2จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์เป็นการส่วนตัวตามป.พ.พ. มาตรา 1088.
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1088
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 66
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180

ผู้พิพากษา

สมศักดิ์ จูสวัสดิ์
อำนวย อินทุภูติ
ดำริ ศุภพิโรจน์

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android