คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1815/2533

 แหล่งที่มา: กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดหลักเกณฑ์การลาป่วยไว้ว่า พนักงานมีสิทธิลาป่วยโดยได้รับค่าจ้างปีหนึ่งไม่เกิน30 วันทำงาน ถ้าพนักงานป่วย 3 วันทำงานติดต่อกัน พนักงานจะต้องแสดงใบรับรองจากแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง ถ้าไม่อาจทำใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งได้ให้ชี้แจงเหตุผลให้ทราบการลาป่วยต้องขอลาโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ หรือระหว่างการเจ็บป่วยต้องแจ้งให้ทางจำเลยทราบ ซึ่งโดยปกติแล้วจะต้องกระทำภายใน 4 ชั่วโมงแรกของเวลาเริ่มปฏิบัติงานหรือแจ้งให้ทราบในวันแรกที่มาทำงานตามปกติ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่มาทำงาน4 วัน ติดต่อกัน คือวันที่ 131415 และ 18 กันยายน 2532 โจทก์ยื่นใบลาป่วย 4 วันตามข้อบังคับของจำเลย โดยมีใบรับรองแพทย์มาแสดง แพทย์ลงความเห็นว่าโจทก์ป่วยในวันที่ 1516 และ 18 กันยายน2532 หาได้รับรองว่าโจทก์ป่วยในวันที่ 1314 กันยายน 2533ด้วยไม่ การที่โจทก์ยื่นใบลาป่วยในวันที่ 1314 ด้วย จึงไม่ตรงต่อความจริง และไม่ถูกต้องตามข้อบังคับของจำเลย จำเลยมีสิทธิปฏิเสธการลาป่วยที่ไม่ถูกต้องได้โดยไม่จำเป็นต้องให้โจทก์ทำใบรับรองแพทย์มาแสดงอีก หาเป็นการขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 12 ไม่เพราะบทบัญญัติดังกล่าวเป็นหลักเกณฑ์ในการยื่นใบลาป่วย การที่โจทก์ลาป่วยเพียง 2 วัน โดยโจทก์ไม่ได้ยื่นใบลาในวันลาและไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบในระหว่างการลา เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ได้ป่วยจริง การฝ่าฝืนของโจทก์ดังกล่าวคงมีความผิดฐานฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเท่านั้นไม่อาจถือว่าโจทก์ขาดงานด้วยการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควรจำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างในวันดังกล่าวแก่โจทก์
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

ผู้พิพากษา

ประคนธ์ พันธุ์วิชาติกุล
ศักดา โมกขมรรคกุล
อัมพร เดชศิริ

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android