คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5515/2531

 แหล่งที่มา: เนติบัณฑิตยสภา
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 
แม้ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจะได้ความว่าเหตุตามฟ้องเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2525 และวันที่ 11 มีนาคม2525 แต่โจทก์กล่าวในฟ้องว่าเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2526และวันที่ 11 มีนาคม 2526 เป็นข้อแตกต่างเกี่ยวกับเวลาที่กระทำความผิดซึ่งเป็นเพียงรายละเอียดถือไม่ได้ว่าต่างกันในสาระสำคัญและเมื่อจำเลยไม่ได้หลงต่อสู้ จึงไม่ใช่เหตุที่ศาลจะพิพากษายกฟ้องโจทก์ จำเลยรับราชการในตำแหน่งเสมียนตราอำเภอ ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่สมุห์บัญชีของสุขาภิบาลอีกตำแหน่งหนึ่ง จำเลยจึงเป็นพนักงานสุขาภิบาลอีกในฐานะหนึ่ง ดังนั้น ในการปฏิบัติหน้าที่สมุห์บัญชีสุขาภิบาล จำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 มาตรา 22 เมื่อความผิดที่โจทก์ฟ้องเป็นความผิดอาญาต่อแผ่นดิน มิใช่ความผิดต่อส่วนตัว แม้สุขาภิบาลผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 121 วรรคแรก และโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานอัยการก็มีอำนาจฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง แม้จะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องได้
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147
  • ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 121
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 225
  • พระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ.2495 มาตรา 19
  • พระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ.2495 มาตรา 20
  • พระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ.2495 มาตรา 22

ผู้พิพากษา

บุญส่ง คล้ายแก้ว
ธีรศักดิ์ กรรณสูต
ถวิล ทองสว่างรัตน์

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android