คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4561/2531

 แหล่งที่มา: เนติบัณฑิตยสภา
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 
จำเลยอยู่อาศัยในที่ดินของโจทก์ ต่อมาโจทก์จำเลยทำสัญญาเช่ากันขึ้นฉบับหนึ่งโดยไม่มีการตกลงในเรื่องค่าเช่า แสดงว่าโจทก์จำเลยมิได้ประสงค์ให้หนังสือสัญญาดังกล่าวผูกพันกันในลักษณะเช่าแต่เป็นการทำสัญญาเพื่อรับรู้สิทธิของโจทก์ในที่ดิน การที่จำเลยครอบครองที่ดินโดยรับรู้ถึงสิทธิของโจทก์ดังกล่าว จึงเป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ มิใช่ครอบครองโดยเจตนาเป็นเจ้าของ แม้ครอบครองนานเพียงใดจำเลยก็หาได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ไม่ และที่โจทก์ฟ้องอ้างว่าสัญญาเช่าระงับไปแล้วขอให้จำเลยรื้อถอนบ้านออกไปถือเป็นเรื่องเรียกทรัพย์คืน ไม่ใช่ฟ้องบังคับตามสัญญาเช่า และไม่ต้องอาศัยหนังสือเช่า การที่ศาลฟังว่าจำเลยอยู่ในที่พิพาทโดยสัญญาเช่าที่ทำขึ้นเพื่อรับรู้สิทธิของโจทก์ จำเลยไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ก็เป็นการวินิจฉัยว่า ที่ดินเป็นของโจทก์ตามฟ้องนั่นเอง ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้อง ศาลจึงพิพากษาให้ขับไล่จำเลย และยกฟ้องแย้งของจำเลยที่ขอให้แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ได้
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 368
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142

ผู้พิพากษา

บุญส่ง คล้ายแก้ว
ถวิล ทองสว่างรัตน์
นำชัย สุนทรพินิจกิจ

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android