คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2115/2531

 แหล่งที่มา: กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 

นายจ้างจ่ายค่าครองชีพแก่ลูกจ้างเป็นจำนวนแน่นอน เป็นรายเดือนเช่นเดียวกับเงินเดือน ค่าครองชีพจึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อตอบแทนเช่นเดียวกับเงินเดือน เป็นค่าจ้าง นายจ้างต้องนำค่าครองชีพมารวมเพื่อคำนวณในการจ่ายเงินบำเหน็จแก่โจทก์ตามข้อบังคับของนายจ้างด้วย
การที่ลูกจ้างได้รับเงินบำเหน็จจากนายจ้างยังไม่ครบถ้วนแม้จะไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้โต้แย้งคัดค้านการจ่ายเงินบำเหน็จของจำเลยไว้ ก็ถือไม่ได้ว่าลูกจ้างได้สละสิทธิที่จะเรียกร้องเอาเงินบำเหน็จในส่วนที่ยังขาดจากนายจ้าง ลูกจ้างย่อมมีสิทธิฟ้องให้นายจ้างชำระเงินบำเหน็จที่นายจ้างจ่ายขาดไปนั้นได้
สิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ลูกจ้างจึงมีสิทธิเรียกร้องได้ภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 นายจ้างจะกำหนดระยะเวลาใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้น้อยกว่า 10 ปีหาได้ไม่ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 191 ลูกจ้างฟ้องคดีภายในกำหนดอายุความ 10 ปี นายจ้างจะยกข้อบังคับของนายจ้างขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธไม่จ่ายเงินบำเหน็จหาได้ไม่
เงินบำเหน็จกฎหมายมิได้บังคับให้นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างทันทีที่เลิกจ้างดังเช่นค่าชดเชย นายจ้างจะผิดนัดก็ต่อเมื่อลูกจ้างได้ทวงถามก่อน เมื่อไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้ทวงถามให้นายจ้างรับผิดชำระเงินบำเหน็จเมื่อใด ลูกจ้างจึงชอบที่จะได้รับดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้อง.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 191
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
  • ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2515 มาตรา 55

ผู้พิพากษา

จำนง นิยมวิภาต
จุนท์ จันทรวงศ์
ครีภูมิ สุวรรณโรจน์

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android