คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2000/2531

 แหล่งที่มา: กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 

ความที่ว่า 'การเลิกจ้างลูกจ้างผู้นั้นไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง'ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา49 มีความหมายว่า การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุที่จะเลิกจ้างได้เลย หรือแม้จะมีเหตุแห่งการเลิกจ้างอยู่บ้างก็เป็นเหตุเพียงเล็กน้อยไม่สมควรถึงกับจะเลิกจ้างลูกจ้าง ดังนั้น เมื่อการปฏิบัติงานของโจทก์ล่าช้า ไม่ติดตามผลงานและผลงานต่ำกว่ามาตรฐาน การเลิกจ้างจึงเป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุอันสมควรมิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ประเด็นที่ว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ จะต้องพิเคราะห์ถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างว่าเป็นอย่างไร มีเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างได้หรือไม่ โดยมิพักต้องพิจารณาว่าก่อนการเลิกจ้างได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวนทางวินัยโจทก์แล้วหรือไม่ การสอบสวนของคณะกรรมการได้กระทำไปโดยชอบหรือไม่ เพราะมิใช่เหตุที่จะทำให้การเลิกจ้างเป็นธรรมหรือไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49

ผู้พิพากษา

วิศิษฏ์ ลิมานนท์
จุนท์ จันทรวงศ์
สีนวล คงลาภ

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android