คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4707/2534

 แหล่งที่มา: กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 
โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทในขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินถือว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายย่อมมีอำนาจที่จะนำเช็คพิพาทมาฟ้องดำเนินคดีแก่จำเลยผู้ออกเช็คพิพาทได้ หลังจากโจทก์มอบอำนาจให้ฟ้องคดีแล้ว ส.ได้ชำระเงินตามเช็คพิพาทพร้อมด้วยดอกเบี้ยแก่โจทก์นั้นเป็นกรณีที่ความรับผิดในส่วนแพ่งเกี่ยวกับเช็คพิพาทที่มีต่อโจทก์ระงับไปเท่านั้นคดีอาญาหายกเลิกไปไม่ โจทก์ยังคงเป็นผู้เสียหายในส่วนอาญาอยู่ จำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาทโดยประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยที่ 2ที่ 3 ออกเช็คพิพาทในฐานะส่วนตัวต่างหากจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2ที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาท เมื่อเช็คพิพาทเรียกเก็บเงินไม่ได้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงมีความผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับ จำเลยที่ 2 ที่ 3 อาจมีเจตนาใช้เงินตามเช็คแต่ละฉบับหรือไม่แตกต่างแยกกันได้ ความผิดสำหรับเช็คแต่ละฉบับจึงเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกัน หาใช่เป็นความผิดกรรมเดียวกันไม่
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83
  • ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39
  • พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3
  • พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 5

ผู้พิพากษา

เสียง ตรีวิมล
บุญศรี กอบบุญ
สมศักดิ์ วิธุรัติ

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android